ตามที่ Rolf Schlotmann และ Moritz Czubatinski ได้กล่าวไว้ “ตลาดหุ้นไม่ได้เกี่ยวกับการตัดสินใจของแต่ละบุคคลว่าตลาดมีแนวโน้มขาขึ้นหรือขาลง แต่มันสะท้อนถึงผลลัพธ์โดยรวมของการตัดสินใจ การรับรู้ และการกระทำจากผู้มีส่วนร่วมหลายล้านคน” พฤติกรรมนี้เป็นตัวกำหนดแนวโน้มของตลาด การเคลื่อนไหวของราคา และการเปลี่ยนแปลงโดยรวมของตลาดการเงิน การเข้าใจแนวคิดนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเทรดเดอร์เนื่องจากมันจะช่วยในการทำความเข้าใจความผันผวนที่มักมีความซับซ้อนและดูเหมือนจะคาดเดาไม่ได้ในตลาดหุ้น การทราบถึงอิทธิพลโดยรวมของความคิดเห็นและกลยุทธ์ที่หลากหลาย และด้วยการวิเคราะห์สภาพตลาด แนวโน้ม และรูปแบบ เทรดเดอร์จะสามารถเคลื่อนที่ในโลกที่ซับซ้อนของตลาดหุ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หากคุณเคยรู้สึกเสียใจที่ไม่ได้ลงทุนในบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon หรือ Google หรือถ้าหากสถานการณ์ของคุณแตกต่างออกไปในสมัยนั้น คุณยังคงมีโอกาสในการเจาะลึกไปในตลาดแห่งนี้ที่มีความน่าตื่นเต้นและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอผ่านทาง CFD
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความผันผวนของตลาดหุ้น
คุณอาจเคยได้กำไรจากความผันผวนของราคาตลาดหุ้นแล้ว ปัจจัยต่าง ๆ เช่น ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ หรือความแปรปรวนทางภูมิรัฐศาสตร์ อาจทำให้ราคามีความผันผวน ซึ่งสามารถสร้างผลกำไรได้ในระดับสูง มันจึงจำเป็นที่จะต้องผสมผสานการวิเคราะห์ทางเทคนิคและปัจจัยพื้นฐานเข้ากับการคาดการณ์ในอดีตเพื่อทำการตัดสินใจบนข้อมูล ยิ่งหุ้นมีการเคลื่อนที่ขึ้นและลงชัดเจนมากเท่าใด ความผันผวนก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
คำพูดที่ว่า ‘แนวโน้มคือเพื่อนของคุณ’ ได้รับความนิยมด้วยเหตุผลบางอย่าง หากหุ้นเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียว ไม่ว่าจะขึ้นหรือลงสักระยะหนึ่ง เราจะเห็นรูปแบบที่เรียกว่าแนวโน้ม นักลงทุนอย่างเช่นคุณจะติดตามแนวโน้มนี้อย่างใกล้ชิดเนื่องจากมันสามารถทำให้เกิดผลกำไรได้
เทรดเดอร์หลายคนตั้งคำถามถึงความแตกต่างระหว่างโมเมนตัมและแนวโน้ม ในขณะที่กลยุทธ์การเทรดยังคงมีความสม่ำเสมอ แนวโน้มจะแสดงถึงทิศทางของสินทรัพย์ ในขณะที่โมเมนตัมหมายถึงความเร็วของการเคลื่อนไหวของราคา หุ้นที่มีโมเมนตัมแรงกำลังประสบกับแนวโน้มขาขึ้นหรือขาลงในกรอบเวลาระยะสั้น เราสามารถระบุแนวโน้มในกรอบเวลาที่แตกต่างกันได้
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้น
เมื่อบางสิ่งมีมูลค่าสูงหรือเป็นที่ต้องการ เช่น เพชร เนื่องจากความหายากและความสวยงาม ใคร ๆ ก็ต้องการเป็นเจ้าของสิ่งนี้ ซึ่งจะผลักดันราคาให้สูงขึ้น แนวคิดพื้นฐานนี้คือกฎของอุปสงค์และอุปทาน มันไม่ใช่แค่สิ่งของที่จับต้องได้เท่านั้น หลักการนี้ยังคงใช้กับตลาดหุ้นได้ด้วย เมื่อหุ้นของบริษัทที่ถูกมองว่ามีค่าหรือถูกคาดว่าจะไปได้ดีในอนาคต ราคาหุ้นของบริษัทนี้จะสูงขึ้น เนื่องจากมีคนต้องการลงทุนมากขึ้น เนื่องจากความต้องการหรืออุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นจากนักลงทุนที่ต้องการมีส่วนร่วมกับความสำเร็จที่อาจเกิดขึ้นกับบริษัท ซึ่งเกิดขึ้นตามกฎของอุปสงค์และอุปทานที่อยู่เหนือกาลเวลา ดังนั้นการทำความเข้าใจแนวโน้มของหุ้น และกฎอุปสงค์และอุปทานจะให้ข้อมูลเชิงลึกที่ดีว่าเหตุใดราคาหุ้นจึงเคลื่อนไหวในทิศทางที่เป็นอยู่
สภาวะตลาดและพฤติกรรมนักลงทุน
ตามที่ได้กล่าวถึงไปก่อนหน้านี้ สภาวะความเชื่อมั่นของตลาดจะครอบคลุมถึงพฤติกรรมและอารมณ์โดยรวมของนักลงทุนในตลาดและผู้มีส่วนร่วมทั้งหมด ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อราคาหุ้น สภาวะความเชื่อมั่นนี้เป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญ ซึ่งสะท้อนถึงความเต็มใจของนักลงทุนในการทำกิจกรรมการซื้อขายในตลาด ซึ่งได้รับอิทธิพลจากแนวโน้มและสภาวะของตลาดที่กำลังเกิดขึ้น โดยทั่วไปเราจะเรียกสภาวะความเชื่อมั่นของตลาดนี้ว่า “อารมณ์” ของตลาด อารมณ์เหล่านี้เกิดจากปัจจัยหลายอย่างที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นในปัจจุบัน
ความเคลื่อนไหวของกิจกรรมการซื้อขาย เป็นกุญแจสำคัญในการทำความเข้าใจอารมณ์ของตลาด การซื้อที่พุ่งสูงขึ้นบ่งบอกถึงสภาวะความเชื่อมั่นเชิงบวก ซึ่งแสดงให้เห็นว่านักลงทุนมีทัศนคติเชิงบวกเกี่ยวกับอนาคต ในทางกลับกัน การขายที่เพิ่มขึ้นจะเป็นการส่งสัญญาณถึงความระมัดระวังหรือการมองโลกในแง่ร้าย
ผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลประกอบการถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่ส่งผลต่อราคาหุ้น การรายงานผลประกอบการเป็นประกาศสำคัญของบริษัทที่ให้รายละเอียดความสามารถในการทำกำไรในช่วงเวลาที่กำหนด เมื่อบริษัทรายงานผลประกอบการเกินความคาดหมายหรือมีการเติบโตในช่วงระยะเวลาก่อนหน้า บริษัทมักจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนที่เพิ่มขึ้นและราคาหุ้นจะสูงขึ้น อย่างไรก็ตามหากรายงานผลประกอบการของบริษัทต่ำกว่าความคาดหมายหรือแสดงให้เห็นถึงการขาดทุน มันจะทำให้เกิดการเทขาย เนื่องจากนักลงทุนพยายามหลีกเลี่ยงผลขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้นแนวทางที่นักลงทุนคาดการณ์และตอบสนองต่อรายงานผลประกอบการของบริษัทจึงมีบทบาทสำคัญในการกำหนดอารมณ์ของตลาด โดยปกติเมื่อถึงช่วงเวลารายงานผลประกอบการ เทรดเดอร์จำนวนมากจะเตรียมตัวในการปรับกลยุทธ์ของตน โดยตระหนักว่าการรายงานผลประกอบการเหล่านี้อาจทำให้เกิดความผันผวนของตลาดและเป็นโอกาสในการลงทุน
การวิเคราะห์ของสื่อสามารถมีอิทธิพลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนได้ ธรรมชาติของการรายงานข่าว ไม่ว่าจะเป็นเชิงบวกหรือเชิงลบ สามารถส่งผลต่อมุมมองของนักลงทุน และกระตุ้นให้เกิดการกระทำตามแนวทางเชิงบวกหรือระมัดระวังต่อตลาดได้
กระทู้และการสนทนาบนโซเชียลมีเดียยังสามารถส่งผลต่อความเชื่อมั่นของตลาด โดยบทสนทนาเชิงบวกที่บ่งบอกถึงความรู้สึกเชิงบวกและการแสดงความคิดเห็นเชิงลบจะบ่งบอกถึงมุมมองที่เป็นลบ ชุมชนโซเชียลมีเดียเปิดโอกาสให้นักลงทุนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการคาดการณ์ เพื่อกำหนดการรับรู้ถึงพฤติกรรมของตลาด
ความคิดเห็นและแถลงการณ์ของผู้เชี่ยวชาญและผู้นำทางการเงิน เช่น ประธานธนาคารกลางสหรัฐ สามารถส่งผลกระทบอย่างมากต่อความรู้สึกของผู้คนเกี่ยวกับตลาดได้ เมื่อผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้กล่าวในเชิงบวก ผู้ที่ลงทุนจะรู้สึกมั่นใจมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามหากพวกเขาพูดถึงปัญหาหรือมีข้อสงสัย นักลงทุนก็อาจจะระมัดระวังเรื่องเงินมากยิ่งขึ้น คำพูดและการประกาศจากผู้รับผิดชอบในการกำหนดนโยบายทางการเงินก็มีความสำคัญเช่นกัน นักลงทุนจะให้ความสนใจกับสิ่งเหล่านี้อย่างใกล้ชิด เช่นเดียวกับแนวโน้มของเศรษฐกิจโลก คณะกรรมการของธนาคารกลางที่ตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินจะให้ความสำคัญกับการบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจบางอย่าง เช่น การรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ที่ประมาณ 2% พวกเขาจะระมัดระวังเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยและต้องการเห็นความคืบหน้าไปสู่เป้าหมายเหล่านี้ก่อนตัดสินใจดำเนินการ แนวทางที่ระมัดระวังนี้จะส่งผลต่อความรู้สึกและการตัดสินใจของนักลงทุนในการลงทุน
การใช้ตัวชี้วัดทางเทคนิค เช่น ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่และรูปแบบกราฟจะช่วยให้นักลงทุนมองเห็นแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ของตลาด เครื่องมือเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นแนวทางในการแสดงว่าตลาดมีความรู้สึกในด้านบวกหรือระมัดระวัง นอกจากนี้ สัญญาณอัตโนมัติจากเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิค เช่น ออสซิลเลเตอร์และรูปแบบกราฟ จะช่วยแนะนำเทรดเดอร์ว่าเมื่อใดควรดำเนินการหรือระมัดระวังเกี่ยวกับราคาหุ้น
ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจและผลกระทบต่อตลาดหุ้น
มีตัวชี้วัดมากมายที่ถูกเผยแพร่อยู่เป็นประจำเพื่อแสดงภาพสถานะของเศรษฐกิจที่ครอบคลุม โดยทั่วไปแล้วตัวชี้วัดเหล่านี้คือรายงานหรือการสำรวจของรัฐบาล และความสำคัญของตัวชี้วัดเหล่านี้มักจะเป็นที่เข้าใจได้ดีที่สุดเมื่อเวลาผ่านไป หากตัวเลขสูงขึ้นหรือเป็นบวกมากขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน นั่นแสดงว่าเศรษฐกิจเริ่มแข็งแกร่ง ในทางกลับกัน หากตัวเลขนี้ลดลง มันอาจบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจกำลังเผชิญกับความท้าทาย
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือ GDP จะแสดงมูลค่ารวมของสินค้าและบริการทั้งหมดที่ผลิตภายในประเทศ อีกทั้งยังรวมถึงกิจกรรมการบริโภคของทั้งภาครัฐและเอกชน รายงานเกี่ยวกับ GDP จะถูกเผยแพร่ทั้งเป็นรายไตรมาสและรายปี ซึ่งจะให้ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับผลการดำเนินงานทางเศรษฐกิจของประเทศ ในบริบทของ CFD เทรดเดอร์อาจใช้ข้อมูล GDP เพื่อเก็งกำไรไปกับทิศทางของตลาดและการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นตามภาวะเศรษฐกิจ
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
CPI ใช้ในการวัดค่าครองชีพในสหรัฐอเมริกาด้วยการติดตามราคาสินค้าและบริการหลากหลายประเภท โดยเป็นการวัดว่าราคาตะกร้าสินค้าและบริการมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งครอบคลุมประมาณ 93% ของประชากรสหรัฐอเมริกา สิ่งนี้สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงในวงกว้างของอัตราเงินเฟ้อและค่าครองชีพ สำหรับเทรดเดอร์ CFD ข้อมูล CPI สามารถใช้เป็นแนวทางของกลยุทธ์สำหรับคู่ฟอเร็กซ์ สินค้าโภคภัณฑ์ และหุ้น เนื่องจากการคาดการณ์เงินเฟ้อมีอิทธิพลต่อนโยบายของธนาคารกลาง และส่งผลต่อความเชื่อมั่นของตลาด
รายงานการจ้างงานนอกภาคเกษตร
รายงานนี้จะวัดจำนวนคนงานที่ได้รับค่าจ้างทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา โดยไม่รวมคนงานในฟาร์ม รัฐบาลกลาง ครัวเรือน และองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร รายงานนี้ถือเป็นหนึ่งในรายงานที่มีการจับตามองอย่างใกล้ชิดที่สุดสำหรับเทรดเดอร์ การเติบโตของตัวเลขการจ้างงานบ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะนำไปสู่การใช้จ่ายของผู้บริโภคและรายได้ของบริษัทที่สูงขึ้น และส่งผลทำให้ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น ในทางกลับกัน การเติบโตของตัวเลขการจ้างงานที่อ่อนแอหรือการตกงานอาจส่งสัญญาณถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งสร้างแรงกดดันต่อราคาหุ้นให้ปรับตัวลดลง เทรดเดอร์ CFD ใช้ข้อมูลนี้เพื่อคาดการณ์แนวโน้มทางเศรษฐกิจและวางตำแหน่งเชิงกลยุทธ์ในตลาดต่าง ๆ รวมถึงตลาดหุ้นด้วยเช่นกัน
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค
ตัวบ่งชี้สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ซึ่งเป็นการสำรวจที่วัดว่าผู้บริโภคมองเกี่ยวกับเศรษฐกิจและสถานการณ์ทางการเงินของตนเองอย่างไร ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่สูงบ่งชี้ว่าผู้คนรู้สึกมั่นคงกับสถานการณ์ทางการเงินของตน และมีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายเงิน ซึ่งจะขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ และอาจนำไปสู่ราคาหุ้นที่สูงขึ้นเนื่องจากธุรกิจต่าง ๆ จะมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ต่ำชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่ตรงกันข้าม ซึ่งอาจบั่นทอนโอกาสทางเศรษฐกิจและส่งผลเสียต่อราคาหุ้นได้ ในการซื้อขาย CFD ดัชนีนี้สามารถใช้เป็นมาตรวัดความเชื่อมั่นของตลาดโดยรวม ซึ่งมีอิทธิพลต่อดัชนีหุ้น หุ้นในภาคการค้าปลีก และสกุลเงิน
ปัจจัยทางจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มของตลาด
ในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ ทั้งบุคคลทั่วไปและนักลงทุนมักจะระมัดระวังพฤติกรรมทางการเงินและกลยุทธ์การลงทุนของตนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงภาวะเงินเฟ้อ พฤติกรรมผู้บริโภคอาจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสะท้อนถึงแนวโน้มของตลาดในวงกว้าง จุดศูนย์กลางของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้คือดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อมั่นโดยรวมต่อเศรษฐกิจและสถานการณ์ทางการเงินส่วนบุคคล ระดับความเชื่อมั่นนี้สามารถส่งผลกระทบอย่างมากต่อราคาหุ้นและค่าเงินดอลลาร์ได้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงผลกระทบของปัจจัยทางจิตวิทยาที่มีต่อตลาดการเงิน เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคมีความผันผวน ค่าเงินดอลลาร์ก็อาจแข็งค่าขึ้นหรือลดลงตามการเปลี่ยนแปลงของความเชื่อมั่นนี้ได้เช่นกัน ปฏิสัมพันธ์รูปแบบนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของปัจจัยทางจิตวิทยาในการกำหนดแนวโน้มของตลาดและความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ โดยเป็นการเน้นให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาวะและการรับรู้ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำและช่วงเงินเฟ้อสามารถเปลี่ยนแปลงมุมมองในโลกทางการเงินได้อย่างไร
บทบาทของข่าวสารและเหตุการณ์ที่มีต่อความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้น
ผลกระทบต่อราคาทันที: ตลาดการเงินจะตอบสนองต่อข่าวสารและเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ รายงานผลประกอบการของบริษัท เหตุการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ เช่น สงครามหรือความตึงเครียด และภัยพิบัติทางธรรมชาติ ข่าวสารเชิงบวกอาจส่งผลให้ราคาหุ้นพุ่งสูงขึ้นได้ ในขณะที่ข่าวเชิงลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับความไม่มั่นคงทางภูมิรัฐศาสตร์หรือความขัดแย้ง ก็อาจทำให้ราคาหุ้นลดลงได้อย่างรวดเร็ว ปฏิกิริยาที่รวดเร็วของตลาดต่อข่าวดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อรวมข้อมูลใหม่เพื่อการประเมินมูลค่าหุ้น โดยเหตุการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์มักจะกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองแบบเร่งด่วนและเด่นชัดมากขึ้น เนื่องจากความไม่แน่นอนและผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นในวงกว้าง
อิทธิพลต่อความเชื่อมั่นของตลาด: ข่าวสารและเหตุการณ์ต่าง ๆ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของตลาดอย่างมีนัยสำคัญ โดยแกว่งไปมาระหว่างการมองในเชิงบวกและเชิงลบ ตัวอย่างเช่น ข่าวการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งสามารถเพิ่มความเชื่อมั่นของนักลงทุน ซึ่งส่งผลให้ราคาหุ้นพุ่งสูงขึ้นได้ ในทางกลับกัน รายงานความไม่มั่นคงทางการเมืองอาจทำให้เกิดความไม่แน่นอนและนำไปสู่การเทขายได้
ปฏิกิริยาเฉพาะส่วน: เซ็กเตอร์ต่าง ๆ อาจตอบสนองต่อข่าวเดียวกันแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันอาจเป็นข่าวดีสำหรับภาคพลังงาน แต่อาจถูกมองว่าเป็นลบต่อหุ้นภาคขนส่งเนื่องจากต้นทุนเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น การทำความเข้าใจถึงความแตกต่างว่าข่าวสารส่งผลต่อเซ็กเตอร์ต่าง ๆ อย่างไรถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักลงทุน
โอกาสสำหรับเทรดเดอร์: เทรดเดอร์มักจะติดตามฟีดข่าวและปฏิทินเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดเพื่อตัดสินใจอย่างรอบคอบโดยอิงจากพัฒนาการล่าสุด ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ข่าวสารและเหตุการณ์ต่าง ๆ อาจทำให้เกิดความผันผวนของราคาได้ ซึ่งถือเป็นโอกาสที่น่าตื่นเต้นโดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มีส่วนร่วมในการซื้อขายระยะสั้นหรือรายวัน
แนวโน้มระยะยาวกับความผันผวนในระยะสั้น: แม้ว่าข่าวสารและเหตุการณ์ต่าง ๆ อาจทำให้เกิดความผันผวนกับราคาหุ้นแบบทันที แต่สิ่งสำคัญคือเราจะต้องแยกความผันผวนในระยะสั้นและแนวโน้มระยะยาวออกจากกัน
บทบาทของข่าวลือและการเก็งกำไร: ข่าวสารไม่ได้ขับเคลื่อนตลาดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ข่าวลือและการเก็งกำไรก็อาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญได้เช่นกัน ปฏิกิริยาของตลาดหุ้นต่อข่าวลือเกี่ยวกับการควบรวมกิจการ การเข้าซื้อกิจการ หรือการเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการพิจารณาข้อมูลที่น่าเชื่อถือจากการเก็งกำไร
ความเข้าใจผิดทั่วไปเกี่ยวกับความผันผวนของตลาดหุ้น
1. ความผันผวนส่งสัญญาณถึงเศรษฐกิจไม่ดี: ความผันผวนของตลาดหุ้นไม่ได้สะท้อนถึงสภาพเศรษฐกิจโดยตรงเสมอไป แม้ว่าตลาดหุ้นและดัชนีตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจจะมีความสัมพันธ์กัน แต่ก็ไม่ได้เคลื่อนตัวไปเหมือนกันทุกครั้ง
2. ความผันผวนสูงหมายถึงความเสี่ยงสูง: แม้ว่าความผันผวนจะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของราคา แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่ามันมีความเสี่ยงสูงขึ้นเสมอไป ในทางตรงกันข้าม เทรดเดอร์ โดยเฉพาะผู้ที่ใช้กลยุทธ์การเทรดแบบ scalping จะได้รับประโยชน์อย่างมากจากการแกว่งตัวของราคาเหล่านี้
3. เมื่อราคาหุ้นลดลงหรือปรับตัวสูงขึ้น มันไม่น่าจะกลับตัวได้ การปรับตัวลดลงไม่ได้หมายถึงแนวโน้มขาลงถาวรเสมอไป ในบางครั้งราคาหุ้นถูกคาดการณ์ว่าจะปรับตัวลดลงอีก แต่บางครั้งก็ดีดตัวขึ้นเมื่อบริษัทเผยแพร่ข่าวเชิงบวกเกี่ยวกับสถานะทางการเงินของบริษัท การเด้งกลับนี้เรียกว่า “แนวรับ” เพราะมันแสดงให้เห็นว่ามีอุปสงค์ของหุ้นที่ราคานั้น ในทำนองเดียวกัน เมื่อราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก ราคาก็อาจหยุดขึ้นได้ระยะหนึ่ง สิ่งนี้เรียกว่า “แนวต้าน” เนื่องจากมีอุปทานจำนวนมากที่ราคานั้น ซึ่งหมายความว่าจะมีการเทขาย
4. ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นที่สามารถทำนายความเคลื่อนไหวของตลาดได้: ความเชื่อที่ว่าผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินสามารถคาดการณ์การเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นได้อย่างแม่นยำนั้นไม่เป็นความจริง แท้จริงแล้วผู้เชี่ยวชาญจะสามารถคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำตามประสบการณ์ของตัวเอง อย่างไรก็ตาม ตลาดได้รับอิทธิพลจากปัจจัยที่คาดเดาไม่ได้จำนวนนับไม่ถ้วน ซึ่งทำให้เป็นเรื่องยากมากที่จะคาดการณ์ความเคลื่อนไหวได้อย่างแม่นยำอยู่เสมอ
5. กำไรมหาศาลมาจากเงินทุนขนาดใหญ่เท่านั้น: นี่ถือเป็นความเข้าใจผิดอย่างมากว่าผลตอบแทนมหาศาลสามารถทำได้ด้วยการลงทุนด้วยเงินจำนวนมากเท่านั้น การลงทุนน้อย ๆ อย่างสม่ำเสมอก็สามารถเติบโตได้อย่างมากเมื่อเวลาผ่านไปได้เช่นกัน ต้องขอบคุณพลังของดอกเบี้ยทบต้น
บทสรุป
ตลาดหุ้นเป็นเวทีที่น่าตื่นเต้นและมีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ด้วยกลยุทธ์รอบด้าน การติดตามตลาดอย่างสม่ำเสมอ และความเพียรพยายามอย่างแน่วแน่ คุณก็สามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสในการทำกำไรด้วยการซื้อขาย CFD ของหุ้น บนแพลตฟอร์มของ FXGT.com ได้แม้ในขณะเดินทาง