ตราสารอนุพันธ์มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานและน่าสนใจ เริ่มต้นจากอารยธรรมเมโสโปเตเมียโบราณ ซึ่งเกษตรกรใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อประกันราคาของพืชผลล่วงหน้า การปฏิบัติเช่นนี้ได้แพร่กระจายไปยังกรีกและโรมันโบราณ โดยสัญญาที่คล้ายคลึงกันถูกใช้สำหรับสินค้าโภคภัณฑ์ที่จำเป็น เช่น มะกอก ข้าว และน้ำมัน รูปแบบแรกเริ่มของตราสารอนุพันธ์เหล่านี้ได้เป็นรากฐานให้กับตราสารทางการเงินสมัยใหม่ ช่วยให้ผู้เข้าร่วมสามารถป้องกันความผันผวนของราคาและสร้างผลกำไรหรือค่าใช้จ่ายที่คาดการณ์ได้มากขึ้น
ในบทความของวันนี้ เราจะสำรวจวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการเข้าสู่โลกที่น่าตื่นเต้นของสกุลเงินดิจิทัล ไม่ว่าจะผ่านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ออปชั่น หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลา เทรดเดอร์มีหลายวิธีในการวิเคราะห์ตลาดเพื่อแสวงหาผลกำไรที่เป็นไปได้ ในขณะเดียวกันก็สามารถจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์แต่ละรูปแบบได้ เราลองมาเจาะลึกเกี่ยวกับกลไกของอนุพันธ์แต่ละประเภท ประโยชน์ที่เกิดขึ้น และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้คุณเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นว่าตราสารเหล่านี้กำลังเปลี่ยนโฉมหน้าของการเทรดคริปโตอย่างไร
อนุพันธ์ในการเทรดคริปโต
ด้วยการเติบโตของสกุลเงินดิจิทัล อนุพันธ์ได้มีการพัฒนาให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดคริปโตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งแตกต่างจากอนุพันธ์แบบเดิมที่ผูกกับสินค้าจริงหรือตราสารทางการเงิน เช่น หุ้นและพันธบัตร อนุพันธ์คริปโตช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเก็งกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาคริปโตได้โดยไม่ต้องเป็นเจ้าของสินทรัพย์ที่อ้างอิง ด้วยเหตุนี้ อนุพันธ์คริปโตจึงกลายเป็นเครื่องมือทางการเงินที่ซับซ้อน ที่มีการนำไปใช้ในกลยุทธ์ที่ให้ทั้งผลตอบแทนสูงและความเสี่ยงสูง
เทรดเดอร์และนักลงทุนต่างใช้อนุพันธ์เหล่านี้เพื่อการป้องกันความเสี่ยง (เฮดจิ้ง) การอาบิทราจ และการเก็งกำไร เนื่องจากมีศักยภาพในการทวีคูณทั้งกำไรและผลขาดทุน ตราสารเหล่านี้ได้เปิดโอกาสใหม่ ๆ ในการเทรด แต่จำเป็นต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของตลาด การใช้เลเวอเรจ และการจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม เราลองมาทบทวนตราสารอนุพันธ์คริปโตที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ซึ่งแต่ละอย่างมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันสำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการเข้าสู่โลกของคริปโตที่มีความเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว
สัญญาฟิวเจอร์สคริปโต
สัญญาฟิวเจอร์สคริปโตเป็นข้อตกลงทางกฎหมายที่กำหนดให้เทรดเดอร์ซื้อสินทรัพย์ในราคาที่กำหนดไว้ล่วงหน้าในวันที่กำหนดไว้ในอนาคต สัญญาเหล่านี้มีการกำหนดจำนวนหน่วยที่แน่นอน ข้อกำหนดด้านมาร์จิ้น และวิธีการชำระราคา ทำให้สามารถเทรดกับโบรกเกอร์หรือแพลตฟอร์มซื้อขายทั่วโลกได้
คุณสมบัติสำคัญ:
- วันหมดอายุ: สัญญามีการกำหนดวันที่แน่นอนที่สินทรัพย์จะถูกส่งมอบหรือชำระราคา
- เลเวอเรจ: ฟิวเจอร์สช่วยให้เทรดเดอร์สามารถควบคุมโพซิชั่นขนาดใหญ่ด้วยเงินทุนเพียงเล็กน้อย
- การเฮดจิ้ง: ฟิวเจอร์สสามารถใช้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคา หรือทำกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาตามที่คาดการณ์ไว้
สัญญาออปชั่นคริปโต
สัญญาออปชั่นคริปโตคืออนุพันธ์ทางการเงินที่ให้สิทธิแก่ผู้ซื้อ แต่ไม่ใช่ข้อผูกพัน ในการซื้อหรือขายตราสารอ้างอิง (เช่น หุ้น สินค้าโภคภัณฑ์ หรือสกุลเงิน) ในราคาที่กำหนดไว้ล่วงหน้าในวันหรือก่อนวันที่ที่กำหนด ซึ่งแตกต่างจากสัญญาฟิวเจอร์ส สัญญาออปชั่นจะให้ความยืดหยุ่นในการตัดสินใจว่าจะทำการซื้อขายหรือปล่อยให้สัญญาหมดอายุ
คุณสมบัติสำคัญ
- ราคาใช้สิทธิ: ราคาที่ผู้ซื้อสามารถซื้อ (call) หรือขาย (put) สินทรัพย์
- วันหมดอายุ: วันสุดท้ายที่สามารถใช้สิทธิออปชั่น
- พรีเมียม: ราคาที่ผู้ซื้อต้องจ่ายเพื่อให้ได้ออปชั่น
- เลเวอเรจ: เช่นเดียวกับฟิวเจอร์ส ออปชั่นช่วยให้เทรดเดอร์ควบคุมจำนวนสินทรัพย์ได้มากขึ้นด้วยเงินทุนที่น้อยกว่า
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลาของคริปโต
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลาเป็นอนุพันธ์ประเภทหนึ่งที่ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเก็งกำไรจากราคาสินทรัพย์ (เช่น คริปโต สินค้าโภคภัณฑ์ หรือตราสารทางการเงินอื่น ๆ) โดยไม่มีวันหมดอายุ ซึ่งแตกต่างจากสัญญาฟิวเจอร์สแบบดั้งเดิม ทำให้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลาเป็นที่นิยมในตลาดคริปโต
คุณสมบัติสำคัญ
- ไม่มีวันหมดอายุ: ต่างจากฟิวเจอร์ส สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลาจะไม่มีการกำหนดวันชำระราคาหรือวันหมดอายุ ซึ่งหมายความว่าเทรดเดอร์สามารถถือโพซิชั่นได้นานตามที่ต้องการตราบใดที่พวกเขายังมีมาร์จิ้นเพียงพอ
- กลไก Funding Rate: เนื่องจากไม่มีวันหมดอายุ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลามีการใช้กลไกที่เรียกว่า funding rate เพื่อรักษาราคาของสัญญาให้อยู่ในระดับเดียวกับราคาสปอต (ตลาด) ของสินทรัพย์อ้างอิง
- เลเวอเรจ: สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลามักมีเลเวอเรจสูง ทำให้เทรดเดอร์สามารถควบคุมโพซิชั่นขนาดใหญ่ด้วยเงินทุนจำนวนเล็กน้อย แต่มันก็เพิ่มความเสี่ยงที่จะถูกบังคับปิดโพซิชั่นด้วยเช่นกัน หากตลาดเคลื่อนตัวในทิศทางตรงกันข้าม
- การชำระราคาแบบต่อเนื่อง: สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลามีการชำระราคาแบบต่อเนื่อง ซึ่งหมายความว่าผลกำไรและขาดทุนจะถูกแสดงแบบเรียลไทม์ตามการเคลื่อนไหวของตลาด แทนที่จะรอการชำระราคาในอนาคต
เลเวอเรจและอนุพันธ์คริปโต
เลเวอเรจเป็นคุณสมบัติหลักในตราสารอนุพันธ์ทั้งสามประเภทซึ่งได้แก่ ฟิวเจอร์ส ออปชั่น และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลา ซึ่งช่วยให้เทรดเดอร์สามารถควบคุมโพซิชั่นที่มีขนาดใหญ่ยิ่งขึ้นด้วยเงินทุนที่น้อยลง อย่างไรก็ตาม วิธีการทำงานของเลเวอเรจและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องจะแตกต่างกันไปตามตราสารอนุพันธ์แต่ละประเภท ดังนั้นเราลองมาแยกการใช้งานแต่ละประเภท พร้อมกับดูตัวอย่างประกอบ
1. สัญญาฟิวเจอร์ส
- การใช้เลเวอเรจ: สัญญาฟิวเจอร์สให้เลเวอเรจในตัว เนื่องจากเทรดเดอร์เพียงแค่ต้องวางเงินประกันเท่านั้น (เปอร์เซ็นต์ที่ไม่มากของมูลค่าสัญญาทั้งหมด) เพื่อเปิดและรักษาโพซิชั่น มาร์จิ้นหรือเงินประกันจะทำหน้าที่เป็นหลักประกันและสามารถปรับได้ผ่านมาร์จิ้นเริ่มต้น (เพื่อเปิดโพซิชั่น) และมาร์จิ้นรักษาโพซิชั่น (เพื่อคงโพซิชั่นไว้)
- อัตราส่วนเลเวอเรจ: อัตราส่วนเลเวอเรจอาจแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปจะสูงมาก หากเทรดเดอร์ใช้เลเวอเรจ 10:1 ในสัญญาฟิวเจอร์สมูลค่า $10,000 เขาต้องใช้เงินเพียง $1,000 เพื่อเปิดโพซิชั่น การเคลื่อนไหวของราคาทรัพย์สิน 1% อาจส่งผลให้มีผลกำไรหรือขาดทุน 10% จากเงินทุนของเทรดเดอร์
2. สัญญาออปชั่น
- การใช้เลเวอเรจ: ออปชั่นมีเลเวอเรจในตัวเช่นกัน เนื่องจากผู้ซื้อต้องจ่ายเพียงค่าพรีเมียมเล็กน้อยเพื่อเปิดโพซิชั่นในตลาดสำหรับทรัพย์สินอ้างอิงที่มีขนาดใหญ่กว่า
- อัตราส่วนเลเวอเรจ: ออปชั่นสามารถมีเลเวอเรจที่สูงเกินกว่า 100:1 ซึ่งทำให้การเคลื่อนไหวของราคาทรัพย์สินอ้างอิงเพียงเล็กน้อยสามารถส่งผลกระทบอย่างมากต่อมูลค่าของออปชั่นได้ สมมติว่าเทรดเดอร์ซื้อ call ออปชั่น ที่มีราคาใช้สิทธิที่ $100 โดยจ่ายพรีเมียม $2 หากราคาสินทรัพย์นี้เพิ่มขึ้นเป็น $105 มูลค่าออปชั่นจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่งผลให้มีกำไรมหาศาลแม้จะลงทุนเริ่มต้นด้วยเงินจำนวนน้อย
3. สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลา
- การใช้เลเวอเรจ: สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลา โดยเฉพาะในตลาดคริปโต ช่วยให้สามารถถือโพซิชั่นที่มีเลเวอเรจสูงได้โดยไม่มีวันหมดอายุ เทรดเดอร์ต้องฝากเพียงเงินมาร์จิ้นหรือหลักประกันไว้เพื่อควบคุมโพซิชั่นที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งคล้ายกับสัญญาฟิวเจอร์ส เลเวอเรจจะได้อยู่ในระดับเดิมอย่างต่อเนื่องตราบใดที่เป็นไปตามข้อกำหนดมาร์จิ้น
- อัตราส่วนเลเวอเรจ: ในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลา เลเวอเรจอาจสูงมาก ซึ่งมักจะถึง 100:1 หรือมากกว่านี้ได้ สิ่งนี้ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถควบคุมทรัพย์สินอ้างอิงจำนวนมากด้วยหลักประกันจำนวนน้อย เทรดเดอร์ที่ใช้เลเวอเรจ 100:1 ในโพซิชั่นมูลค่า $10,000 ต้องใช้เงินเพียง $100 เป็นมาร์จิ้น หากตลาดเคลื่อนไหวสวนทางกับเทรดเดอร์เพียง 1% พวกเขาอาจต้องสูญเสียโพซิชั่นทั้งหมดและเผชิญกับการถูกบังคับปิดโพซิชั่นได้
การจัดการความเสี่ยงสำหรับอนุพันธ์คริปโตในการเทรด
การเทรดอนุพันธ์คริปโตด้วยเลเวอเรจสามารถให้ผลตอบแทนสูง แต่ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นนี้ก็อาจทำให้ขาดทุนได้อย่างมากหากไม่มีการจัดการอย่างเหมาะสม เนื่องจากเลเวอเรจช่วยให้เทรดเดอร์สามารถควบคุมโพซิชั่นที่ใหญ่กว่าเงินทุนที่มีอยู่ได้ การเคลื่อนไหวของราคาเพียงเล็กน้อยในตลาดก็สามารถส่งผลให้เกิดผลกำไรหรือขาดทุนเป็นจำนวนมากได้ ในการรับมือกับสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงสูงนี้ เทรดเดอร์จะใช้เทคนิคการจัดการความเสี่ยงหลายแบบที่มีการออกแบบมาเพื่อปกป้องทุน ลดความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาด และลดโอกาสที่โพซิชั่นของพวกเขาจะถูกบังคับปิด นี่คือกลยุทธ์การจัดการความเสี่ยงที่พบบ่อยและมีประสิทธิภาพในการเทรดคริปโตด้วยเลเวอเรจ:
1. การควบคุมเลเวอเรจ
- มันคืออะไร: การปรับเลเวอเรจตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้และสภาวะตลาด
- ทำไมมันจึงสำคัญ: เลเวอเรจสูงสามารถเพิ่มผลกำไรได้ แต่มันก็ทำให้ขาดทุนมากขึ้นได้เช่นกัน ในตลาดที่มีความผันผวนเช่นคริปโต การถูกบังคับปิดโพซิชั่นอาจเกิดขึ้นได้ง่ายหากตลาดเคลื่อนไหวตรงข้ามแม้เพียงเล็กน้อย
- แนวทางการปฏิบัติที่ดี: ผู้ที่เริ่มต้นใหม่ควรใช้เลเวอเรจต่ำ (เช่น 2x-5x) เพื่อลดความเสี่ยง เทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์แล้วสามารถเพิ่มเลเวอเรจได้แต่ควรระวังความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น แพลตฟอร์มหลายแห่งยังให้คุณสามารถปรับเลเวอเรจระหว่างการเทรดได้ ดังนั้นคุณควรพิจารณาลดเลเวอเรจหากความผันผวนเพิ่มขึ้น
2. การกระจายความเสี่ยง
- มันคืออะไร: การกระจายความเสี่ยงคือการกระจายเงินทุนไปยังหลายสินทรัพย์หรือหลายตลาดเพื่อลดความเสี่ยงโดยรวม
- ทำไมมันจึงสำคัญ: ตลาดคริปโตมีความสัมพันธ์กันสูง แต่การกระจายการลงทุนไปยังคริปโตหลายประเภทหรือสินทรัพย์ประเภทอื่นสามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ตัวเดียวได้
- แนวทางการปฏิบัติที่ดี: อย่าลงทุนด้วยเงินทั้งหมดในการเทรดแบบเลเวอเรจเพียงครั้งเดียว คุณควรกระจายเงินทุนไปยังโพซิชั่นหรือสินทรัพย์หลายประเภทเพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดทุนเป็นเงินจำนวนมากในตลาดเดียว
3. การใช้F unding Rate ให้เป็นประโยชน์ (สำหรับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลา)
- มันคืออะไร: Funding Rate คือการชำระเงินตามระยะเวลาที่กำหนดระหว่างเทรดเดอร์ที่ถือสถานะ Long และ Short เพื่อให้ราคาของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลาสอดคล้องกับราคาปอต คุณอาจต้องจ่ายหรือได้รับค่าธรรมเนียมนี้ขึ้นอยู่กับตลาด
- ทำไมมันจึงสำคัญ: การจ่ายค่า Funding Rate อย่างต่อเนื่องอาจทำให้กำไรลดลงได้เมื่อเวลาผ่านไป เทรดเดอร์ที่ถือโพซิชั่นระยะยาวควรตรวจสอบ Funding Rate เพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าธรรมเนียมจำนวนมากซึ่งทำให้เงินลดลง
- แนวทางการปฏิบัติที่ดี: เมื่อ Funding Rate สูง คุณควรหลีกเลี่ยงการใช้เลเวอเรจมากเกินไปเพราะจะเพิ่มค่าใช้จ่าย ในทางกลับกัน คุณสามารถทำให้ตัวเองได้รับเงินโดยอยู่ฝั่งตรงข้ามกับตลาดที่มีผู้เล่นมาก เช่น ทำการ short คริปโตเมื่อผู้เล่นส่วนใหญ่อยู่ฝั่ง long
4. ติดตามราคาบังคับปิดโพซิชั่น
- มันคืออะไร: ราคาบังคับปิดโพซิชั่น (Liquidation) คือระดับราคาที่โบรกเกอร์จะปิดโพซิชั่นที่มีเลเวอเรจโดยอัตโนมัติเพื่อป้องกันการขาดทุนเพิ่ม และให้คุณไม่ขาดทุนมากกว่าหลักประกันของคุณ
- ทำไมมันจึงสำคัญ: หากราคาตลาดถึงราคาบังคับปิดโพซิชั่น โพซิชั่นทั้งหมดจะถูกบังคับปิดและส่งผลให้เกิดการขาดทุนเงินทั้งหมด
- แนวทางการปฏิบัติที่ดี: คุณควรระวังราคาบังคับปิดโพซิชั่น และตรวจสอบให้แน่ใจว่ามันอยู่ห่างจากระดับราคาตลาดในปัจจุบัน ใช้เลเวอเรจต่ำหรือเพิ่มมาร์จิ้นเพื่อเลื่อนราคาบังคับปิดโพซิชั่นให้อยู่ห่างจากช่วงความผันผวนของตลาดที่อาจเกิดขึ้น
5. การหลีกเลี่ยงการเทรดมากเกินไป
- มันคืออะไร: Over-Trading หรือการเทรดมากเกินไปคือการเปิดคำสั่งเป็นจำนวนมากเกินไปหรือลงทุนด้วยความเสี่ยงสูงโดยไม่มีแผนที่ชัดเจน ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากอารมณ์ เช่น ความกลัวหรือความโลภ
- ทำไมมันจึงสำคัญ: ในการเทรดด้วยเลเวอเรจ การเปิดคำสั่งบ่อย ๆ โดยไม่มีการวิเคราะห์ที่ดีอาจนำไปสู่การขาดทุนจากค่าธรรมเนียม ความผันผวนของตลาด และการตัดสินใจที่เกิดจากอารมณ์
- แนวทางการปฏิบัติที่ดี: ยึดตามแผนการเทรดที่ชัดเจนและเปิดการเทรดเมื่อมีการวิเคราะห์อย่างละเอียดแล้ว หลีกเลี่ยงการเทรดแบบไม่ใช้เหตุผล โดยเฉพาะหลังจากการขาดทุน เนื่องจากมันอาจนำไปสู่การเทรดแบบที่ต้องการเอาคืน ซึ่งมักทำให้ขาดทุนเพิ่มขึ้น
6. การเฮดจิ้ง
- มันคืออะไร: การเฮดจิ้งคือการเปิดโพซิชั่นที่ตรงกันข้ามกับสินทรัพย์หรืออนุพันธ์ที่มีความสัมพันธ์กันเพื่อลดการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น
- ทำไมมันจึงสำคัญ: มันช่วยลดความเสี่ยงจากการเคลื่อนไหวของราคาที่ไม่พึงประสงค์ ตัวอย่างเช่น หากคุณเปิดโพซิชั่น long ของ Bitcoin ด้วยเลเวอเรจ คุณสามารถเปิดโพซิชั่น short ขนาดเล็กในสัญญา Bitcoin futures เพื่อลดความเสี่ยงในกรณีที่ราคาลดลงได้
- แนวทางการปฏิบัติที่ดี: การเฮดจิ้งสามารถช่วยปกป้องทุนของคุณ โดยเฉพาะในช่วงที่มีความผันผวนสูงได้ ลองพิจารณาใช้กลยุทธ์การเฮดจิ้งเพื่อลดการขาดทุนจากโพซิชั่นขนาดใหญ่
กลยุทธ์การเฮดจิ้งในตลาดคริปโต
การเฮดจิ้งจะชดเชยผลการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นโดยการเปิดโพซิชั่นตรงกันข้ามบนสินทรัพย์ที่มีความสัมพันธ์กัน แม้ว่ามันอาจไม่ได้ทำให้ได้กำไรแต่มันก็ช่วยปกป้องพอร์ตการลงทุนของเทรดเดอร์จากการเคลื่อนไหวของราคาที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งจะลดความเสี่ยงลง สิ่งนี้มีความสำคัญมากในตลาดคริปโตที่มีการเปลี่ยนแปลงของราคาที่รุนแรง และอาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น อารมณ์ตลาด การเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบ หรือแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค ด้านล่างนี้เป็นกลยุทธ์การเฮดจิ้งที่พบได้บ่อยซึ่งเทรดเดอร์นำมาใช้ในตลาดคริปโตที่มีความผันผวน
1. การใช้สัญญาฟิวเจอร์ส
หากคุณเป็นเจ้าของสินทรัพย์คริปโตและกังวลว่าราคาจะลดลง คุณสามารถขายสัญญาฟิวเจอร์สเพื่อล็อกราคาปัจจุบันได้ หากราคาลดลง กำไรจากสัญญาฟิวเจอร์สจะชดเชยผลการขาดทุนจากการถือครองสินทรัพย์คริปโต การเฮดจิ้งด้วยสัญญาฟิวเจอร์สเหมาะสำหรับการล็อกราคาขายในอนาคตหรือลดความเสี่ยงในตลาดที่ผันผวนสูง
2. สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลา
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลาเป็นสัญญาฟิวเจอร์สประเภทหนึ่งที่ไม่มีวันหมดอายุ ทำให้สามารถใช้ในการป้องกันความเสี่ยงได้อย่างต่อเนื่อง หากคุณถือโพซิชั่น long ของคริปโต คุณสามารถเปิด short โดยใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลาเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการลดลงของราคา สัญญาประเภทนี้ไม่มีวันหมดอายุ ซึ่งทำให้คุณสามารถเฮดจิ้งได้นานเท่าที่คุณต้องการ สัญญาประเภทนี้จึงเหมาะสำหรับพอร์ตระยะยาวเพราะไม่ต้องกังวลเรื่องการต่อสัญญา
3. สัญญาออปชั่น
คุณสามารถป้องกันความเสี่ยงด้วยสัญญาออปชั่นได้สองวิธี: การซื้อออปชั่น Put ซึ่งให้สิทธิ์ในการขายสินทรัพย์ตามราคาที่กำหนดไว้เพื่อป้องกันการลดลงของราคา และการขายออปชั่น Call ซึ่งจะสร้างรายได้ค่าพรีเมียมที่ช่วยลดการขาดทุนในโพซิชั่น Long สัญญาออปชั่นจึงเหมาะสำหรับการป้องกันความเสี่ยงที่มีความยืดหยุ่นพร้อมกับการจำกัดความเสี่ยง เนื่องจากผลขาดทุนสูงสุดจะเป็นเพียงค่าพรีเมียมที่จ่ายไปสำหรับสัญญาอนุพันธ์
4. กลยุทธ์ Delta-Neutral
กลยุทธ์ Delta-Neutral จะเกี่ยวข้องกับการสร้างพอร์ตที่ค่าเดลตา ซึ่งเป็นความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของสินทรัพย์อ้างอิง รวมเป็นศูนย์ หมายความว่ามูลค่าของพอร์ตจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนักเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของราคาเพียงเล็กน้อย คุณสามารถมี delta-neutrality ได้โดยการผสมผสานโพซิชั่น long และ short ในตลาดฟิวเจอร์สหรือออปชั่น ตัวอย่างเช่น การถือโพซิชั่น long ใน Bitcoin และเปิด short ในฟิวเจอร์สของ Bitcoin หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลาที่มีขนาดเดียวกันในทิศทางตรงข้าม กลยุทธ์นี้เหมาะสำหรับการลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาที่ไม่มากและยังคงสามารถทำกำไรจากความผันผวนหรือปัจจัยอื่น ๆ เช่น funding rate
5. การเฮดจิ้งข้ามสินทรัพย์
การเฮดจิ้งโพซิชั่นคริปโตโดยใช้สินทรัพย์ที่มีความสัมพันธ์กันหรือเคลื่อนไหวตรงข้ามเรียกว่า การเฮดจิ้งข้ามสินทรัพย์ ตัวอย่างเช่น คุณสามารถเฮดจิ้งโพซิชั่น long ใน Bitcoin โดย short เหรียญที่เกี่ยวข้อง เช่น Ethereum หรือหากคุณมีมุมมอง bullish ต่อคริปโตแต่รู้สึกกังวลเกี่ยวกับความผันผวนระยะสั้น คุณสามารถถือ Bitcoin และเฮดจิ้งด้วยโพซิชั่น short ของทองคำซึ่งมักจะเคลื่อนไหวตรงข้ามกับคริปโต วิธีนี้เหมาะสำหรับการกระจายความเสี่ยงระหว่างสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ หรือเฮดจิ้งคริปโตที่มีความสัมพันธ์กัน
6. การแปลงเป็น Stablecoin
หากคุณรู้สึกกังวลเกี่ยวกับความผันผวนของตลาดคริปโตหรือคาดว่าราคาจะลดลง คุณสามารถแปลงคริปโตของคุณเป็น stablecoin ได้ วิธีนี้จะช่วยรักษามูลค่าพอร์ตของคุณในสินทรัพย์ที่มีความเสถียรโดยไม่ต้องออกจากระบบนิเวศคริปโต ซึ่งเหมาะสำหรับการเฮดจิ้งระยะสั้นต่อความผันผวนของตลาดหรือการรักษาผลกำไรแบบไม่ต้องแปลงเป็นเงินเฟียต
7. กลยุทธ์ Covered Call
กลยุทธ์ covered call เป็นการถือคริปโต เช่น Bitcoin และขายออปชั่น call ของสินทรัพย์นี้ คุณจะได้รับพรีเมียมจากการขายออปชั่น call ซึ่งสามารถชดเชยการลดลงของราคาสินทรัพย์อ้างอิงได้ หากราคาต่ำกว่าราคา strike คุณจะได้ทั้งพรีเมียมและคริปโต หากราคาสูงกว่าราคา strike คุณจะต้องขายคริปโตของคุณแต่ยังได้พรีเมียม เทคนิคนี้เหมาะสำหรับการสร้างรายได้ในขณะถือครองคริปโต และทำการขายออปชั่นที่ราคาที่สูงกว่า
8. การอาบิทราจ Funding Rate (สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลา)
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลามี funding rate ที่สามารถสร้างรายได้หรือเป็นค่าใช้จ่าย ขึ้นอยู่กับอารมณ์ของตลาด คุณสามารถใช้ประโยชน์จาก funding rate โดยการเฮดจิ้งโพซิชั่น long หรือ short โดยพิจารณาว่า funding เป็นบวก (long จ่าย short) หรือลบ (short จ่าย long) ตัวอย่างเช่น หาก funding rate สูง คุณสามารถเฮดจิ้งโพซิชั่น long ได้ด้วยการ short สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลาเพื่อรับค่าธรรมเนียม การอาบิทราจ funding rate ช่วยลดค่าใช้จ่ายการถือครองโพซิชั่นหรือสร้างรายได้แบบพาสซีฟผ่านการจ่ายเงินค่าธรรมเนียม
9. การเฮดจิ้งดัชนีคริปโต
คุณสามารถเฮดจ์โพซิชั่นในตลาดคริปโตของคุณได้โดยการ short หรือใช้ออปชั่นบนดัชนีคริปโต ซึ่งจะช่วยให้คุณเข้าถึงตลาดในภาพกว้างได้ อีกทั้งยังลดความเสี่ยงโดยไม่ต้อง short คริปโตรายตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไม่มั่นใจว่าตัวไหนจะปรับตัวได้ดี การเฮดจิ้งดัชนีคริปโตจึงเหมาะสำหรับการลดความเสี่ยงในพอร์ตคริปโตทั้งหมดโดยไม่ต้องโฟกัสไปที่สินทรัพย์เพียงตัวเดียว
10. กริดเทรดดิ้ง
กริดเทรดดิ้งเป็นวิธีการส่งคำสั่งซื้อและขายที่บริเวณรอบ ๆ ระดับราคาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า หากคุณคาดว่าตลาดจะมีความผันผวนแต่ยังไม่แน่ใจเกี่ยวกับทิศทาง คุณสามารถเฮดจิ้งโพซิชั่นได้ด้วยการตั้งคำสั่ง long และ short ที่ราคาต่าง ๆ กลยุทธ์นี้ช่วยให้คุณทำกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาได้ในทั้งสองทิศทาง มันจึงเหมาะสำหรับตลาดที่มีความผันผวนในระยะสั้นและไม่มีทิศทางที่ชัดเจน
ข้อผิดพลาดและกับดักที่พบบ่อย
การเทรดอนุพันธ์คริปโตด้วยเลเวอเรจสามารถทำกำไรได้สูง แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงที่มากเช่นกัน เทรดเดอร์จำนวนมาก โดยเฉพาะมือใหม่ มักพลาดในเรื่องทั่วไป ซึ่งอาจนำไปสู่การขาดทุนครั้งใหญ่ได้ การปกป้องกลยุทธ์ของคุณเมื่อเทรดอนุพันธ์คริปโตด้วยเลเวอเรจจึงเป็นสิ่งสำคัญ เราลองมาดูกันว่ามีข้อผิดพลาดอะไรบ้างที่พบได้บ่อย
1. การใช้เลเวอเรจมากเกินไป
- กับดัก: เทรดเดอร์มักใช้เลเวอเรจมากเกินไป ซึ่งเป็นทั้งโอกาสในการทำกำไรและการขาดทุนที่ทวีคูณยิ่งขึ้น
- สิ่งที่เกิดขึ้นตามมา: แม้แต่การเคลื่อนไหวของราคาที่ไม่เป็นใจเพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้โพซิชั่นของคุณถูกบังคับปิดได้ ซึ่งทำให้เทรดเดอร์สูญเสียหลักประกันทั้งหมด
- วิธีแก้ไข: ใช้เลเวอเรจอย่างระมัดระวัง (เช่น 2x-5x) และตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจว่าเลเวอเรจจะเพิ่มทั้งความเสี่ยงและผลกำไร
2. การละเลยการบริหารความเสี่ยง
- กับดัก: ไม่ตั้ง stop loss, ไม่ใช้กฎการกำหนดขนาดโพซิชั่น, หรือไม่คำนึงถึงผลขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น
- สิ่งที่เกิดขึ้นตามมา: การเทรดที่แย่ครั้งเดียวอาจทำให้เงินทุนของคุณขาดทุนไปเป็นส่วนมากหากคุณไม่จำกัดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
- วิธีแก้ไข: ตั้ง stop loss เสมอและใช้การกำหนดขนาดโพซิชั่นอย่างเหมาะสมตามจำนวนเงินทุนที่คุณยอมเสี่ยงในการเทรดแต่ละครั้ง
3. การขาดความเข้าใจเกี่ยวกับตราสาร
- กับดัก: เปิดโพซิชั่นที่ใช้เลเวอเรจในฟิวเจอร์ส ออปชั่น หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลาโดยไม่เข้าใจการทำงานของตราสารเหล่านี้อย่างถ่องแท้
- สิ่งที่เกิดขึ้นตามมา: การเข้าใจผิดเกี่ยวกับกลไกอาจทำให้เกิดการบังคับปิดโพซิชั่น หรือขาดทุนเนื่องจากการหมดอายุของออปชั่น
- วิธีแก้ไข: หาความรู้เกี่ยวกับอนุพันธ์คริปโตที่คุณกำลังเทรด รวมถึงเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และทดสอบกลยุทธ์ในบัญชีเดโมก่อนใช้เงินจริง
4. การไม่คำนึงถึงความผันผวน
- กับดัก: ประเมินความผันผวนของตลาดคริปโตต่ำเกินไปในขณะที่ใช้เลเวอเรจ
- สิ่งที่เกิดขึ้นตามมา: การสวิงของราคาอย่างรวดเร็วอาจนำไปสู่การถูกบังคับปิดโพซิชั่นหรือการขาดทุนมหาศาล โดยเฉพาะเมื่อมีการปรับตัวลงหรือพุ่งขึ้นของราคาอย่างรวดเร็ว
- วิธีแก้ไข: ปรับเลเวอเรจตามสภาพตลาด โดยเฉพาะในช่วงที่มีความผันผวนสูง และใช้ stop loss ที่กว้างขึ้นหรือเลเวอเรจที่ต่ำลง
5. การละเลย Funding Fees และวันหมดอายุ
- กับดัก: เทรดเดอร์ที่ถือโพซิชั่นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลา หรือฟิวเจอร์สโดยใช้เลเวอเรจมักมองข้ามผลกระทบของ funding fees หรือวันหมดอายุ
- สิ่งที่เกิดขึ้นตามมา: ค่าธรรมเนียมที่สะสมตามระยะเวลา หรือการที่ต้องต่อสัญญาอาจทำให้กำไรลดลงหรือสร้างการขาดทุนได้ โดยเฉพาะในการเทรดระยะยาว
- วิธีแก้ไข: ตระหนักถึง funding rate ของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลาและวันหมดอายุของฟิวเจอร์ส รวมถึงคำนึงถึงค่าใช้จ่ายเหล่านี้เมื่อวางแผนการเทรดระยะยาว
6. การถือโพซิชั่นที่ใช้เลเวอเรจในช่วงที่สภาพคล่องต่ำ
- กับดัก: การถือโพซิชั่นที่ใช้เลเวอเรจในช่วงเวลาที่สภาพคล่องต่ำ (เช่น ช่วงสุดสัปดาห์หรือวันหยุด) อาจเพิ่มความคลาดเคลื่อนของราคาและนำไปสู่การเติมเต็มคำสั่งที่ไม่ดีได้
- สิ่งที่เกิดขึ้นตามมา: รายการคำสั่งที่น้อยอาจทำให้คำสั่งของคุณถูกเติมเต็มในราคาที่แย่กว่าที่คาดไว้ ทำให้เกิดการขาดทุนที่มากกว่าที่คาดได้
- วิธีแก้ไข: หลีกเลี่ยงการเทรดที่ใช้เลเวอเรจสูงในช่วงที่สภาพคล่องต่ำ และใช้คำสั่ง limit เพื่อควบคุมราคาเข้าและออกของคุณ
7. การละเลยผลกระทบจากการบังคับปิดโพซิชั่น
- กับดัก: เทรดเดอร์มักโฟกัสที่เรื่องกำไรและละเลยความเสี่ยงจากการถูกบังคับปิดโพซิชั่น โดยเฉพาะเมื่อใช้เลเวอเรจสูง
- สิ่งที่เกิดขึ้นตามมา: การเคลื่อนไหวของตลาดที่รวดเร็วอาจทำให้โพซิชั่นถูกบังคับปิดแบบอัตโนมัติ ทำให้เทรดเดอร์ขาดทุนทั้งการเทรดในปัจจุบันและเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม รวมถึงกำไรที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
- วิธีแก้ไข: รักษาการใช้เลเวอเรจให้เหมาะสม ตรวจสอบราคาที่จะถูกบังคับปิดโพซิชั่น และตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณมีมาร์จิ้นเพียงพอเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับปิดโพซิชั่น
8. การไม่ป้องกันความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
- กับดัก: ไม่ใช้กลยุทธ์การเฮดจิ้งเมื่อเปิดโพซิชั่นที่ใช้เลเวอเรจ
- สิ่งที่เกิดขึ้นตามมา: หากไม่ทำการเฮดจิ้งอย่างเหมาะสม เทรดเดอร์จะเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงของทิศทางตลาด ซึ่งอาจทำให้ขาดทุนมากในสภาวะตลาดที่ไม่เอื้ออำนวย
- วิธีแก้ไข: ใช้กลยุทธ์การเฮดจิ้ง เช่น ออปชั่น ฟิวเจอร์ส หรือการเปลี่ยนคริปโตเป็น stablecoin เพื่อลดความเสี่ยงและปกป้องโพซิชั่นที่ใช้เลเวอเรจของคุณ
9. การไม่สนใจเหตุการณ์ภายนอกตลาด
- กับดัก: ไม่ใส่ใจต่อเหตุการณ์เศรษฐกิจมหภาคหรือกฎระเบียบสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาด
- สิ่งที่เกิดขึ้นตามมา: การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบอย่างกะทันหัน การประกาศเกี่ยวกับการแฮก หรือการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่สามารถทำให้ตลาดผันผวนอย่างรุนแรง ซึ่งอาจทำลายโพซิชั่นที่ใช้เลเวอเรจได้
- วิธีแก้ไข: ติดตามเหตุการณ์เศรษฐกิจมหภาค ข่าวสาร และการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบอยู่เสมอ และลดการใช้เลเวอเรจหรือลดโพซิชั่นก่อนที่จะมีการประกาศข่าวที่ส่งผลต่อตลาด
แนวทางกำกับดูแลสำหรับอนุพันธ์คริปโต
แนวทางกำกับดูแลสำหรับอนุพันธ์คริปโตกำลังมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เนื่องจากรัฐบาลและหน่วยงานทางการเงินทั่วโลกกำลังพยายามสร้างแนวทางที่สมดุลระหว่างนวัตกรรม การคุ้มครองนักลงทุน และเสถียรภาพของตลาด เนื่องจากสกุลเงินดิจิทัลมีลักษณะแบบไม่มีศูนย์กลาง วิธีการกำกับดูแลจึงอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละเขตอำนาจศาล ตั้งแต่การแบนไปจนถึงการยอมรับอย่างเต็มรูปแบบในเชิงการกำกับดูแล
ตลาดการเงินทั่วสหภาพยุโรปอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ‘European Securities and Markets Authority (ESMA)’ การกำกับดูแลของพวกเขาครอบคลุมการซื้อขายอนุพันธ์คริปโต โดยที่กรอบการกำกับดูแล MiCA (Markets in Crypto-Assets) มุ่งให้ความชัดเจนเกี่ยวกับสินทรัพย์คริปโตและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องในกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป
กฎระเบียบในแอฟริกาแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละประเทศ บางประเทศยอมรับคริปโต ขณะที่บางประเทศห้ามใช้ ตัวอย่างเช่น แอฟริกาใต้ อนุญาตให้มีการซื้อขายอนุพันธ์คริปโตภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด โดยแพลตฟอร์มต่าง ๆ จำเป็นต้องปฏิบัติตามแนวทางของ Financial Sector Conduct Authority (FSCA) ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2022 สินทรัพย์คริปโตถูกจัดเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินตามกรอบกำกับดูแลที่ระบุไว้ใน Financial Advisory and Intermediary Services Act (FAIS)
- ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในภูมิภาคนี้ โบรกเกอร์และสถาบันต่าง ๆ ให้บริการเข้าถึงตลาดคริปโตภายใต้การกำกับดูแลจากหน่วยงานผู้กำกับดูแลอย่างเข้มงวด ตัวอย่างเช่น ในญี่ปุ่น การซื้อขายอนุพันธ์คริปโตอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ Financial Services Agency (FSA) ซึ่งมีกรอบการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลที่เข้มงวดที่สุดแห่งหนึ่ง แพลตฟอร์มซื้อขายจะต้องลงทะเบียนกับ FSA และปฏิบัติตามข้อกำหนด KYC (Know Your Customer) มาตรการต่อต้านการฟอกเงิน (AML) และข้อกำหนดด้านเงินทุนเพื่อดำเนินการในประเทศนี้
โบรกเกอร์ที่ดำเนินงานอยู่ในสิงคโปร์ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่กำหนดโดย Monetary Authority of Singapore (MAS) ซึ่งกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ทางการเงินทั้งหมดและอนุญาตให้มีการซื้อขายอนุพันธ์คริปโตผ่านบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตและปฏิบัติตามกฎระเบียบของประเทศ แม้จะไม่มีข้อจำกัดเฉพาะเกี่ยวกับเลเวอเรจ แต่แพลตฟอร์มต่าง ๆ จะต้องปฏิบัติตามแนวทางการจัดการความเสี่ยงทั่วไป
ฮ่องกงมีการกำกับดูแลบริการทางการเงินโดย Securities and Futures Commission (SFC) โดย SFC กำหนดให้แพลตฟอร์มที่ให้บริการอนุพันธ์คริปโตต้องลงทะเบียนและปฏิบัติตามแนวทางที่เข้มงวด เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินแบบดั้งเดิม เริ่มตั้งแต่ปี 2020 หน่วยงานทางการเงินได้บังคับใช้กฎระเบียบที่กำหนดให้แพลตฟอร์มคริปโตทั้งหมดที่ดำเนินงานอยู่ในประเทศนี้จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายหลักทรัพย์
แม้ว่าการซื้อขายคริปโตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง แต่จีนได้ใช้แนวทางที่เข้มงวดที่สุดแห่งหนึ่งในโลก โดยห้ามไม่ให้มีการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลทุกรูปแบบในปี 2021 มาตรการนี้ถูกกำหนดขึ้นโดย People’s Bank of China (PBoC) และขยายไปถึงตลาดทั้งภายในประเทศและแพลตฟอร์มต่างประเทศที่ดำเนินงานอยู่ในประเทศจีน