ชื่อเล่นที่ใช้เรียกเพื่อให้สามารถจดจำได้ง่ายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการซื้อขายคู่สกุลเงินมาอย่างยาวนาน ในปัจจุบัน มันเป็นเรื่องปกติที่จะได้ยินชื่อเรียกที่เป็นคำสแลง เช่น ‘Cable,’ ‘Chunnel’ หรือ ‘Swissy’ ถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของศัพท์เกี่ยวกับการเทรด ด้วยการดึงความหมายมาจากเหตุการณ์ในอดีตหรือลักษณะเด่นทางเศรษฐกิจ ชื่อเล่นของคู่สกุลเงินอาจทำให้เกิดความรู้สึกสับสนเมื่อได้ยินครั้งแรกจากสิ่งพิมพ์หรือข่าวสารทางการเงิน
อย่างไรก็ตาม มันมีประโยชน์สำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการอ้างอิงคู่สกุลเงินด้วยวิธีที่รวดเร็วและมีความเชื่อมโยง หรือให้ความรู้สึกอินกับชื่อคู่สกุลเงิน และเนื่องจากมันเป็นเรื่องที่ดีในการอัปเดตคำศัพย์ด้านการเทรดและความสำคัญของคำต่าง ๆ เหล่านี้ เราจะมาเจาะลึกไปที่ชื่อเล่นของคู่สกุลเงินที่ใช้บ่อยที่สุด รวมถึงที่มาของชื่อเหล่านี้
Cable – GBP/USD
ชื่อเรียก ‘Cable’ ซึ่งหมายถึงคู่ GBP/USD มีที่มาจากการวางสายเคเบิลข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเป็นครั้งแรกในปี 1866 สายโทรเลขนี้เชื่อมต่อลอนดอนและนิวยอร์กเข้าด้วยกัน ทำให้การสื่อสารสามารถเกิดขึ้นได้แบบทันทีระหว่างศูนย์กลางทางการเงินทั้งสองแห่ง ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนี้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในขณะนั้น มันช่วยให้สามารถทำธุรกรรมสกุลเงินปอนด์อังกฤษกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐได้อย่างรวดเร็ว
เมื่อเวลาผ่านไปและมีพัฒนาการทางเทคโนโลยีเกิดขึ้น ชื่อเล่นนี้ถูกนำมาใช้และกลายเป็นคำที่ใช้เรียก GBP/USD แม้ว่าวิธีการสื่อสารทางโทรเลขจะถูกแทนที่ด้วยวิธีการที่ทันสมัยกว่ามานานแล้ว แต่ ‘Cable’ ยังคงเป็นคำเรียกที่เทรดเดอร์และนักวิเคราะห์ทางด้านการเงินใช้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการใช้คำนี้มาเป็นระยะเวลานานในสังคมการเทรด
Fiber – EUR/USD
คล้ายกันกับ GBP/USD คู่ EUR/USD ถูกเรียกว่า ‘Fiber’ ตามการวางสายเคเบิลใยแก้วนำแสงครั้งแรกระหว่างยุโรปและสหรัฐอเมริกาในช่วงปลายทศวรรษ 1999 ชื่อเล่นนี้เป็นสิ่งที่เน้นให้เห็นว่าคู่ EUR/USD มีที่มาจากโครงสร้างพื้นฐานที่ล้ำสมัย ทำให้มั่นใจได้ว่าธุรกรรมทางการเงินจะราบรื่น ความน่าเชื่อถือและความเร็วระดับสูงนี้ที่สามารถรองรับการซื้อขายปริมาณมากระหว่างสกุลเงินยูโรและดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ ‘Fiber’ เป็นชื่อเล่นที่เหมาะสม
Chunnel – EUR/GBP
‘Chunnel’ เป็นชื่อเล่นที่เทรดเดอร์ตั้งให้กับคู่สกุลเงิน EUR/GBP และมีความเกี่ยวข้องกับ Channel Tunnel ที่เชื่อมต่อสหราชอาณาจักรกับฝรั่งเศส อุโมงค์แห่งนี้ถือเป็นสิ่งมหัศจรรย์ทางวิศวกรรมที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าและผู้คนระหว่างสหราชอาณาจักรและแผ่นดินใหญ่ของยุโรป ดังนั้น ‘Chunnel’ จึงเป็นตัวแทนของความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างมหาอำนาจทางเศรษฐกิจทั้งสองแห่ง ความสัมพันธ์นี้เกี่ยวข้องกับการค้าที่สำคัญ และชื่อเล่นของคู่สกุลเงินนี้แสดงให้เห็นถึงบทบาทในการสนับสนุนการแลกเปลี่ยนสกุลเงินที่มีประสิทธิภาพ
Ninja – USD/JPY
คู่เงิน USD/JPY เป็นที่รู้จักในด้านการมีราคาที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วและบางครั้งไม่อาจคาดเดาได้ มันจึงได้รับฉายาว่า ‘Ninja’ ชื่อเล่นนี้แสดงถึงมรดกทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่น และสะท้อนถึงแนวทางเชิงกลยุทธ์ที่เทรดเดอร์จะต้องมีเมื่อทำการซื้อขาย USD/JPY
เนื่องจากสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อภูมิทัศน์ทางการเงินทั่วโลก ‘Ninja’ จึงแสดงให้เห็นถึงความสำคัญทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศนี้ด้วยเช่นกัน USD และ JPY เป็นแหล่งหลบภัยสำหรับเทรดเดอร์สกุลเงินทั่วโลกมาเป็นระยะเวลายาวนาน และมีการตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อข่าวสารทางการเงินและการรายงานเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ นโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐและธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นที่มักมีความแตกต่างกัน ทำให้ตลาดมีปฏิกิริยาที่รวดเร็วต่อคู่สกุลเงินนี้ เทรดเดอร์จะจับตาดูการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับทั้งสองสกุลเงินอย่างใกล้ชิดเพื่อใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของคู่สกุลเงินนี้
Loonie – USD/CAD
ชื่อเล่นของคู่สกุลเงิน USD/CAD ที่เรียกว่า ‘Loonie’ มาจากเหรียญ 1 ดอลลาร์ของแคนาดา ซึ่งมีรูปนกลูนอยู่ด้านหลัง นกชนิดนี้เป็นพันธุ์พื้นเมืองของแคนาดา ‘Loonie’ ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในปี 1987 เพื่อทดแทนดอลลาร์แคนาดาในรูปแบบกระดาษ และได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในฐานะชื่อเล่นที่เป็นตัวแทนของคู่สกุลเงิน USD/CAD
ในด้านของการเคลื่อนไหว ราคา ‘Loonie’s’ มักแกว่งไปตามสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะน้ำมัน เนื่องจากแคนาดาเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ นอกจากนี้ การเติบโตของ GDP ตัวเลขการจ้างงาน และการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารแห่งแคนาดายังมีบทบาทสำคัญในการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนของคู่สกุลเงินนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งสนับสนุนการใช้ชื่อสแลง ‘Loonie’ นี้
Swissy – USD/CHF
‘Swissy’ เป็นอีกหนึ่งชื่อเล่นของคู่สกุลเงินที่มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ชื่อเล่นที่ใช้เรียกคู่สกุลเงิน USD/CHF นี้มาจากการย่อชื่อของสวิตเซอร์แลนด์เป็น ‘Swissy’ ด้วยการที่ประเทศนี้เป็นที่รู้จักในด้านเสถียรภาพทางการเมือง การมีเศรษฐกิจและระบบการเงินที่แข็งแกร่ง คุณลักษณะเด่นของประเทศจะสะท้อนไปที่สกุลเงินของชาติ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความน่าสนใจของคู่เงินในช่วงเวลาที่ตลาดมีความไม่แน่นอน
นอกจากนี้คำว่า ‘Swissy’ ยังติดอยู่กับเทรดเดอร์เนื่องจากความง่ายต่อการจดจำ การนำมาใช้เรียกเป็นระยะเวลานานแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมการเทรด ซึ่งสะท้อนไปที่การนำคู่สกุลเงินไปใช้งานและความสำคัญทางประวัติศาสตร์
Aussie และ Kiwi – AUD/USD และ NZD/USD
‘Aussie’ (AUD/USD) และ ‘Kiwi’ (NZD/USD) เป็นชื่อเรียกคู่สกุลเงินที่มีรากฐานมาจากอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของประเทศ ชื่อแรกใช้เรียกอะไรก็ได้ที่เป็นออสเตรเลีย ซึ่งในกรณีนี้คือสกุลเงินประจำชาติ ส่วนชื่อที่สองมาจากนกที่บินไม่ได้ที่เรียกว่ากีวี ซึ่งปรากฏอยู่ในเหรียญ 1 ดอลลาร์นิวซีแลนด์
Aussie’ ได้รับแรงหนุนจากเศรษฐกิจของออสเตรเลียและสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญ เช่น แร่เหล็กและทองคำ ราคาของคู่สกุลเงินจะแปรเปลี่ยนไปตามอัตราการจ้างงาน การเติบโตของ GDP และการตัดสินใจจากธนาคารกลางออสเตรเลีย ราคานี้ยังสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั่วโลกเนื่องจากความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่แนบแน่นระหว่างออสเตรเลียกับจีน
ในทำนองเดียวกัน ‘Kiwi’ แปรเปลี่ยนไปตามภาคเกษตรกรรมของนิวซีแลนด์ โดยเฉพาะการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม Kiwi ยังได้รับอิทธิพลจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์และมีการตอบสนองต่อความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงของนักลงทุน ดังนั้น ‘Aussie’ และ ‘Kiwi’ จึงได้รับความนิยมจากอัตราผลตอบแทนที่สูงและความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นได้ทั้งโอกาสและความเสี่ยงเนื่องจากมีความผันผวน
ชื่อเล่นที่น่าสนใจอื่น ๆ สำหรับคู่สกุลเงิน
หลังจากที่เราได้กล่าวถึง ชื่อเล่นของคู่สกุลเงินยอดนิยมแล้ว ยังมีชื่อเล่นอื่น ๆ ที่เราควรทำความรู้จักด้วยเช่นกัน ดังนั้นเราจะมาพูดคร่าว ๆ เกี่ยวกับชื่อเรียกคู่สกุลเงินอื่น ๆ ที่มีภูมิหลังและความสำคัญเป็นเอกลักษณ์
ตัวอย่าง เช่น ‘Greenback’ ซึ่งเป็นชื่อเรียก US Dollar (USD) ‘Greenback’ มีต้นกำเนิดในศตวรรษที่ 19 โดยมาจากการใช้หมึกสีเขียวบนธนบัตรในยุคสงครามกลางเมือง ปัจจุบัน ‘Greenback’ มีความหมายคือ USD ซึ่งตอกย้ำถึงการมีอิทธิพลอย่างมากของสกุลเงินดอลลาร์
‘Looner’ หมายถึงคู่สกุลเงิน CAD/JPY ซึ่งเป็นการผสม ‘Loonie’ ของแคนาดาเข้ากับสกุลเงินเยนญี่ปุ่น เช่นเดียวกับ ‘Loonie’ คู่สกุลเงินนี้มีความอ่อนไหวต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะน้ำมัน เทรดเดอร์มีการติดตามราคาของคู่เงินนี้อย่างใกล้ชิดเนื่องจากการตอบสนองต่อตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจจากทั้งแคนาดาและญี่ปุ่น
สุดท้าย ‘Guppy’ หมายถึงคู่สกุลเงิน GBP/JPY ซึ่งบ่งบอกถึงลักษณะความผันผวน ราคาของ ‘Guppy’ มักมีความผันผวนไปตามพัฒนาการทางเศรษฐกิจในสหราชอาณาจักรและญี่ปุ่น การซื้อขายคู่สกุลเงินนี้ต้องใช้การจัดการความเสี่ยงอย่างระมัดระวัง เนื่องจากราคามีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
บทสรุป
ชื่อเล่นสำหรับคู่สกุลเงินเป็นคำที่ใช้เรียกอย่างสั้น ๆ ซึ่งแสดงถึงความลึกซึ้งและลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมที่มีต่อประสบการณ์การซื้อขายคู่สกุลเงิน ชื่อเรียกเหล่านี้มีความเป็นเอกลักษณ์ ทำให้เราเห็นและเข้าใจถึงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจทั่วโลก คำต่าง ๆ เช่น ‘Cable’ และ ‘Fiber’ ไปจนถึง ‘Ninja’ และ ‘Loonie’ ล้วนมีความสำคัญทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ และช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเรียกและเชื่อมโยงคู่สกุลเงินต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ ชื่อเล่นเหล่านี้ยังแสดงถึงแก่นของการมีปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ โดยแสดงให้เห็นว่าเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมสามารถมีส่วนในการกำหนดภูมิทัศน์ทางการเงินได้อย่างไร ดังนั้นการเทรดฟอเร็กซ์จึงได้กลายเป็นสิ่งที่มากกว่างานด้านเทคนิค มันมีเรื่องราวที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจโลก