อัตราแลกเปลี่ยน EURUSD อยู่ในแนวโน้มขาขึ้นนับตั้งแต่ช่วงต้นเดือนกรกฎาคม โดยไต่ขึ้นจากระดับต่ำสุดที่ 1.06656 ถึงระดับสูงสุดที่
1.10080 ในช่วงต้นเดือนสิงหาคม การปรับตัวขึ้นดังกล่าวได้รับอิทธิพลจากความคาดหวังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายนและแรงกดดันเงินเฟ้อที่อ่อนแอลง ซึ่งส่งผลให้เงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาน่าสนใจน้อยลง
ตัวชี้วัดทางเทคนิคช่วยเสริมความเชื่อมั่นขาขึ้นนี้ โดยราคาอยู่เหนือ EMA ช่วง 50 และ Momentum oscillator เหนือเส้นพื้นฐาน 100 อย่างไรก็ตาม ความต่างเชิงลบระหว่างราคาและโมเมนตัมก็แสดงให้เห็นถึงศักยภาพสำหรับการปรับฐานในอนาคตอันใกล้
วันพุธ เวลา 09:00 น. (GMT+0) – ยุโรป: การเปลี่ยนแปลงการจ้างงานเทียบรายไตรมาส (EUR)
วันพุธ เวลา 09:00 น. (GMT+0) – ยุโรป: GDP เทียบรายไตรมาส (EUR)
วันพุธ เวลา 12:30 น. (GMT+0) – สหรัฐอเมริกา: CPI เทียบรายเดือน (USD)
วันพุธ เวลา 14:30 น. (GMT+0) – การเปลี่ยนแปลงสต๊อกน้ำมันดิบจาก EIA (USD)
วันพุธ เวลา 22:45 น. (GMT+0) – นิวซีแลนด์: ยอดขายปลีกบัตรอิเล็กทรอนิกส์เทียบรายเดือน (NZD)
วันพุธ เวลา 23:50 น. (GMT+0) – ญี่ปุ่น: GDP เทียบรายไตรมาส (JPY)
วันพฤหัสบดี เวลา 01:30 น. (GMT+0) – ออสเตรเลีย: การเปลี่ยนแปลงการจ้างงาน (AUD)
วันพฤหัสบดี เวลา 06:00 น. (GMT+0) – สหราชอาณาจักร: การผลิตทางอุตสาหกรรมเทียบรายเดือน (GBP)
วันพฤหัสบดี เวลา 12:30 น. (GMT+0) – สหรัฐอเมริกา: ยอดขายปลีกพื้นฐานเทียบรายเดือน (USD)
วันศุกร์ เวลา 06:00 น. (GMT+0) – สหราชอาณาจักร: ยอดขายปลีกเทียบรายเดือน (GBP)
วันศุกร์ เวลา 12:30 น. (GMT+0) – สหรัฐอเมริกา: ใบอนุญาตก่อสร้าง (USD)
อัตราแลกเปลี่ยน EURUSD กำลังปรับตัวขึ้นเนื่องจากไปแตะที่ระดับต่ำสุดที่ 1.06656 ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมและไปถึงระดับสูงสุดที่ 1.10080 ในวันที่ 5 สิงหาคม
การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่กำลังจะมาถึงในเดือนกันยายน ประกอบไปกับแรงกดดันเงินเฟ้อที่อ่อนแอทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาน่าสนใจน้อยลง อย่างต้อนสำหรับตอนนี้ก็ฉุด EURUSD ให้สูงขึ้น
ทั้งเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอ็กซ์โพเนนเชียล (EMA) ช่วง 50 และ Momentum oscillator ต่างก็สนับสนุนอคติขาขึ้นของคู่สกุลเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาอยู่เหนือ EMA และ Momentum oscillator ก็บันทึกค่าเหนือเส้นพื้นฐาน 100 ยิ่งไปกว่านั้น Relative Strength Index ก็อยู่ที่เส้นระหว่าง 50 และ 70 เมื่อตรวจสอบอย่างใกล้ชิด เราสามารถระบุความแตกต่างเชิงลบระหว่างราคาและการแจ้งเตือนของ Momentum oscillator สำหรับการปรับฐานขาลงที่อาจเกิดขึ้นได้
หากผู้ซื้อยึดการควบคุมตลาดได้นักเทรดอาจมุ่งความสนใจไปยังระดับแนวต้านที่เป็นไปตามทั้งสี่ระดับด้านล่างนี้:
1.10080: เป้าหมายราคาแรกอยู่ที่ 1.10080 ซึ่งสอดคล้องกับระดับสูงสุดที่เกิดขึ้นในวันที่ 5 สิงหาคม
1.10612: เป้าหมายที่สองอยู่ที่ประมาณ 1.10612 ซึ่งคำนวณตามแนวต้าน (R2) โดยใช้วิธีการ Pivot Points
1.10865: เป้าหมายราคาที่สามอยู่ที่ 1.10865 ซึ่งสอดคล้องกับ Fibonacci Extension 161.8% ระหว่างระดับการสวิงสูงสุดที่ 1.10080 และระดับการสวิงต่ำสุดที่ 1.08810
1.11144: แนวต้านเพิ่มเติมอยู่ที่ 1.11144 ซึ่งสอดคล้องกับแนวต้าน (R3) ที่คำนวณโดยใช้วิธีการ Pivot Points รายสัปดาห์
หากผู้ขายรักษาการควบคุมตลาดเอาไว้ได้นักเทรดอาจต้องพิจารณาระดับแนวรับที่เป็นไปได้สี่ระดับด้านล่างนี้:
1.09475: เป้าหมายขาลงหลักอยู่ที่ 1.09475 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงระดับสูงสุดที่เกิดขึ้นในวันที่ 17 กรกฎาคม
1.08810: ระดับแนวรับที่สองอยู่ที่ 1.08810 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงระดับต่ำสุดของการสวิงตัวล่าสุดที่เกิดขึ้นในวันที่ 8 สิงหาคม
1.08072: แนวรับที่สามอยู่ที่ 1.08072 โดยสะท้อนให้เห็นถึงแนวรับ (S2) ที่คำนวณโดยใช้วิธีการ Pivot Points รายสัปดาห์
1.07770: เป้าหมายขาลงเพิ่มเติมอยู่ที่ 1.07770 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงระดับต่ำสุดที่เกิดขึ้นในวันที่ 1 สิงหาคม
สรุปก็คือในขณะที่แนวโน้มขาขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ของ EURUSD ได้รับแรงสนับสนุนจากสภาพเศรษฐกิจที่เอื้ออำนวยและตัวชี้วัดทางเทคนิค แต่ก็ต้องระมัดระวังเนื่องจากสัญญาณที่เกิดขึ้นของการปรับฐานของตลาดที่อาจเกิดขึ้น เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจที่กำลังจะเกิดขึ้นน่าจะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางถัดไปของคู่สกุลเงิน