หมายเหตุสำคัญ!
เราใช้คุกกี้เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา
ด้วยการคลิกที่ ‘ตกลง’ คุณได้ยอมรับการใช้คุกกี้ของเราตามที่อธิบายไว้ใน นโยบายคุกกี้
การเทรดด้วยมาร์จิ้นเป็นส่วนสำคัญของตลาดการเงิน มาร์จิ้นช่วยให้เทรดเดอร์สามารถยืมเงินจากโบรกเกอร์เพื่อซื้อหุ้น สินค้าโภคภัณฑ์ หรือตราสารทางการเงินอื่น ๆ โดยใช้สินทรัพย์ที่มีอยู่เป็นหลักประกัน และยังเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงขึ้นผ่านทางเลเวอเรจ แนวทางปฏิบัตินี้ หรือที่เรียกว่าการซื้อด้วยมาร์จิ้น ช่วยให้นักลงทุนสามารถซื้อหลักทรัพย์ได้มากกว่าเงินที่มีอยู่ในขณะนั้น ซึ่งอาจทำให้เกิดผลกำไรหรือขาดทุนที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลตอบแทนที่มากขึ้นย่อมมาพร้อมกับความเสี่ยงที่มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของ margin calls การเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักประกัน และกฎระเบียบที่เข้มงวด การทำความเข้าใจมาร์จิ้น วิธีคำนวณ และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการตัดสินใจด้วยข้อมูลในโลกการเทรด
ในบทความนี้ เราจะมาสำรวจพื้นฐานของคำจำกัดความของมาร์จิ้น โดยตรวจสอบว่าบัญชีมาร์จิ้นเปิดให้นักลงทุนสามารถทำธุรกรรมที่เกินความสามารถทางการเงินในปัจจุบันของตัวเองได้อย่างไร นอกจากนี้เรายังจะมาพูดคุยเกี่ยวกับ margin calls ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการเทรดด้วยมาร์จิ้นที่ช่วยจัดการความเสี่ยง และเราจะให้ภาพรวมโดยละเอียดของกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เป้าหมายหลักของเราคือการอธิบายเกี่ยวกับความซับซ้อนของมาร์จิ้นในการเทรดและผลกระทบที่มีต่อโลกการเงิน ไม่ว่าจะเป็นสำหรับนักลงทุนที่มีประสบการณ์หรือผู้เริ่มต้น
หัวใจสำคัญของการเทรดด้วยมาร์จิ้นคือหลักการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ที่มีอยู่เพื่อทวีคูณผลกำไรในตลาด ซึ่งเป็นแนวคิดที่ทั้งทรงพลังและซับซ้อน ที่นี่ เราจะแจกแจงแก่นสำคัญของมาร์จิ้นในการเทรดเพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจน:
พื้นฐานของมาร์จิ้น:
กลไกของการเทรดด้วยมาร์จิ้น:
กฎระเบียบและข้อกำหนดที่สำคัญ:
ความสัมพันธ์ระหว่างมาร์จิ้นและเลเวอเรจเป็นส่วนสำคัญในการทำความเข้าใจว่าเทรดเดอร์สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการลงทุนในตลาดการเงินได้อย่างไร มาร์จิ้นทำหน้าที่เป็นหลักประกันที่จำเป็นในการทำการเทรด ซึ่งช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเปิดโพซิชั่นที่ใหญ่กว่าเงินทุนของตัวเอง ในทางกลับกัน เลเวอเรจคืออัตราส่วนที่จะขยายโอกาสของเทรดเดอร์ในตลาดให้มากกว่ามาร์จิ้นเริ่มต้น ตัวอย่างเช่น อัตราส่วนเลเวอเรจ 10:1 หมายความว่า ทุก ๆ $1 ของมาร์จิ้น เทรดเดอร์สามารถควบคุมโพซิชั่นที่มีมูลค่า $10 ได้
เพื่ออธิบายเพิ่มเติม เราลองพิจารณาอัตราส่วนเลเวอเรจที่ 50:1 เทรดเดอร์ที่มีมาร์จิ้น $1,000 สามารถถือโพซิชั่นที่มีมูลค่า $50,000 ได้ ความสามารถในการควบคุมโพซิชั่นขนาดใหญ่ด้วยเงินทุนจำนวนค่อนข้างน้อยสามารถนำไปสู่ผลกำไรจำนวนมากได้หากตลาดเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ดี อย่างไรก็ตาม เลเวอเรจยังได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการขาดทุนได้เท่า ๆ กับผลกำไรที่อาจเกิดขึ้น การเคลื่อนไหวของตลาดเพียงเล็กน้อยอาจส่งผลให้เกิดการขาดทุนอย่างมาก ซึ่งเกินกว่ามาร์จิ้นเริ่มต้น ดังนั้น แม้ว่ามาร์จิ้นและเลเวอเรจจะเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการเทรด แต่การใช้งานจำเป็นต้องมีแนวทางที่สมดุลในการบริหารความเสี่ยง
margin call เกิดขึ้นเมื่อมูลค่าของบัญชีมาร์จิ้นของนักลงทุนลดลงต่ำกว่าจำนวนเงินที่โบรกเกอร์กำหนดไว้ เหตุการณ์นี้ทำให้โบรกเกอร์ต้องออก margin call ซึ่งเป็นการกำหนดให้นักลงทุนต้องทำการฝากเงินหรือหลักทรัพย์เพิ่มเติมเข้าบัญชีเพื่อรักษามูลค่าของบัญชีให้อยู่ในระดับที่กำหนด วัตถุประสงค์หลักของ margin call คือ เพื่อปกป้องทั้งนักลงทุนและโบรกเกอร์โดยทำให้มั่นใจว่าบัญชีมีอิควิตี้เพียงพอที่จะครอบคลุมเงินกู้คงค้าง การไม่ปฏิบัติตาม margin call อาจส่งผลทำให้โบรกเกอร์ขายหลักทรัพย์ของนักลงทุนเพื่อให้ครอบคลุมเงินกู้ ซึ่งในบางครั้งจะเป็นการทำโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า นี่คือภาพรวมของ กระบวนการ margin call:
1. มูลค่าของหลักทรัพย์ลดลง: กระบวนการเริ่มต้นขึ้นเมื่อมูลค่าตามราคาตลาดของหลักทรัพย์ที่ซื้อด้วยมาร์จิ้นลดลง ซึ่งจะส่งผลต่อมูลค่าโดยรวมของบัญชีมาร์จิ้น
2. การละเมิดเกณฑ์มาร์จิ้นในการรักษาโพซิชั่น: หากมูลค่าของบัญชีลดลงต่ำกว่ามาร์จิ้นในการรักษาโพซิชั่น ซึ่งเป็นระดับอิควิตี้ขั้นต่ำที่กำหนดโดยโบรกเกอร์ สิ่งนี้จะทำให้เกิดการละเมิดเกณฑ์ที่สำคัญ
3. Margin Call ของโบรกเกอร์: โบรกเกอร์จะออก margin call ให้กับนักลงทุน โดยเป็นการขอเงินทุนหรือหลักทรัพย์เพิ่มเติมอย่างเป็นทางการเพื่อแก้ไขการติดลบของบัญชี
4. การดำเนินการที่จำเป็น: นักลงทุนจะต้องฝากเงินเพิ่มหรือขายหลักทรัพย์เพื่อให้ครอบคลุม margin call
การทำความเข้าใจและจัดการกับ margin call ไม่เพียงแต่ป้องกันการขาดทุนทางการเงินที่อาจเกิดขึ้น แต่ยังหลีกเลี่ยงการถูกบังคับชำระบัญชีสินทรัพย์ ซึ่งอาจเกิดที่ราคาตลาดที่ไม่เอื้ออำนวย อย่างไรก็ตาม นักลงทุนสามารถใช้มาตรการเชิงรุกเพื่อจัดการกับความซับซ้อนของ margin calls โดยใช้ประโยชน์จากการเทรดด้วยมาร์จิ้นไปพร้อม ๆ กับการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรการป้องกัน:
การเทรดด้วยมาร์จิ้นสูงเกี่ยวข้องกับการยืมเงินลงทุนส่วนใหญ่จากโบรกเกอร์ โดยใช้ประโยชน์จากโพซิชั่นเพื่อเพิ่มผลตอบแทนที่เป็นไปได้สูงสุด ตัวอย่างเช่น การใช้มาร์จิ้นสูงเพื่อเทรดในตลาดฟอเร็กซ์ที่มีความผันผวนสามารถเปลี่ยนการเคลื่อนไหวของราคาเพียงเล็กน้อยให้กลายเป็นกำไรที่มีนัยสำคัญได้ อย่างไรก็ตามสิ่งนี้ได้เพิ่ม เลเวอเรจ โดยเป็นการทวีคูณผลการขาดทุน ซึ่งหมายความว่า การเคลื่อนไหวเล็กน้อยในทิศทางตรงกันข้ามอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายทางการเงินได้อย่างมาก
ในทางกลับกัน การใช้มาร์จิ้นต่ำในการเทรดจะเป็นแนวทางที่อนุรักษ์นิยมมากกว่า เทรดเดอร์ใช้เงินกู้ที่มีขนาดเล็กกว่าเมื่อเทียบกับเงินทุนของเทรดเดอร์เอง ซึ่งส่งผลให้เลเวอเรจและความเสี่ยงลดลง แต่ยังจำกัดผลตอบแทนที่อาจเกิดขึ้นอีกด้วย ตัวอย่างของการเทรดที่ใช้มาร์จิ้นต่ำอาจเป็นการลงทุนระยะยาวในตลาดหุ้นที่ใช้เงินกู้ขนาดเล็กเพื่อเพิ่มกำลังซื้อเล็กน้อยโดยไม่ต้องเสี่ยงไปกับความผันผวนสูงและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับเลเวอเรจ
ตัวเลือกระหว่างการเทรดด้วยมาร์จิ้นสูงและต่ำจะขึ้นอยู่กับการยอมรับความเสี่ยง กลยุทธ์การลงทุนของเทรดเดอร์ และสภาวะตลาด นักลงทุนที่ไม่ชอบความเสี่ยงอาจเลือกการเทรดด้วยมาร์จิ้นต่ำในตลาดขาลงเพื่อป้องกันการขาดทุนที่คาดเดาไม่ได้ ในขณะที่เทรดเดอร์เชิงรุกอาจเลือกการเทรดที่มีมาร์จิ้นสูงในตลาดกระทิงเพื่อใช้ประโยชน์จากแนวโน้มขาขึ้น การทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการสร้างกลยุทธ์การเทรดที่สอดคล้องกับเป้าหมายทางการเงินและความเสี่ยงที่ยอมรับได้
การคำนวณมาร์จิ้นเกี่ยวข้องกับการคำนวณเงินทุนที่ยืมมาซึ่งใช้สำหรับการเทรดและจำนวนอิควิตี้ที่เทรดเดอร์ต้องมี โบรกเกอร์หรือตลาดแลกเปลี่ยนจะกำหนดมาร์จิ้นเริ่มต้น ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ของราคาซื้อที่ต้องชำระด้วยเงินของเทรดเดอร์เอง มาร์จิ้นที่ใช้ในการรักษาบัญชีเป็นอีกหนึ่งการคำนวณที่สำคัญ ซึ่งแสดงถึงยอดคงเหลือในบัญชีขั้นต่ำที่ต้องรักษาไว้ หากยอดคงเหลือในบัญชีลดลงต่ำกว่าระดับนี้ margin call จะทำงาน การคำนวณเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารความเสี่ยงและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ
เครื่องมือ เลเวอเรจแบบไดนามิก ของเราจะปรับเลเวอเรจแบบเรียลไทม์ตามโพซิชั่นการเทรดของคุณ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามระดับปริมาณ ประเภทสินทรัพย์ และโปรไฟล์ความเสี่ยง เครื่องมือการจัดการความเสี่ยงนี้ช่วยป้องกันความเสี่ยงที่มากเกินไปและรักษาระดับความเสี่ยงที่สมดุลในขณะที่เพิ่มศักยภาพในการเทรดให้สูงสุด มาร์จิ้นคือจำนวนเงินที่จำเป็นสำหรับการซื้อหรือขายตราสาร
ดูที่ตารางด้านล่างนี้เพื่อทำความเข้าใจการทำงานของเครื่องมือเลเวอเรจแบบไดนามิคของเรา:
คู่ฟอเร็กซ์หลัก
เทียร์ | ปริมาณ (USD) | เลเวอเรจ | มาร์จิ้น % | สูงสุดต่อสัญลักษณ์ (USD) |
---|---|---|---|---|
เทียร์ 1 | 0 – 800,000 | 1:1000 | 0.1 | 20,000,000 |
เทียร์ 2 | 800,000 – 2,500,000 | 1:500 | 0.2 | 20,000,000 |
เทียร์ 3 | > 2,500,000 | 1:100 | 1 | 20,000,000 |
*หมายเหตุ: เลเวอเรจของคู่ CHF คงที่อยู่ที่ 1:200
แม้ว่าการเทรดด้วยมาร์จิ้นจะสามารถเพิ่มผลกำไรได้ แต่มันก็ยังมีความเสี่ยงหลายประการด้วยเช่นกัน ความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดคือ โอกาสที่จะขาดทุนอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเทรดเดอร์ต้องรับผิดชอบไม่เพียงแค่เงินที่ลงทุนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงจำนวนที่ยืมอีกด้วย ความผันผวนของตลาดอาจนำไปสู่ margin calls อย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลทำให้ต้องมีการบังคับขายหลักทรัพย์แบบขาดทุน นอกจากนี้ ดอกเบี้ยที่ถูกคิดจากเงินที่ยืมมายังสามารถสะสมเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งส่งผลให้ความสามารถในการทำกำไรโดยรวมลดลง ด้านล่างนี้ เราได้สรุปสิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาซึ่งเกี่ยวข้องกับการเทรดโดยใช้มาร์จิ้น:
การขาดทุนที่เพิ่มขึ้นและหนี้มาร์จิ้น:
การจ่ายดอกเบี้ยและความยืดหยุ่นทางการเงิน:
เคล็ดลับสำหรับนักลงทุน:
เมื่อคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้ นักลงทุนสามารถเข้าถึงการซื้อขายด้วยมาร์จิ้นโดยตระหนักถึงความเสี่ยงมากขึ้น โดยสามารถทำการตัดสินใจบนข้อมูลเพื่อแสวงหาผลตอบแทนที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น
ข้อกำหนดด้านมาร์จิ้นจะแตกต่างกันไปตามโบรกเกอร์ และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานทางการเงิน เช่น Securities and Exchange Commission (SEC)ในสหรัฐอเมริกา, Financial Services Agency (FSA) ในญี่ปุ่น, European Securities and Markets Authority (ESMA) ในสหภาพยุโรป China Securities Regulatory Commission (CSRC) ในประเทศจีน ฯลฯ กฎระเบียบเหล่านี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อปกป้องทั้งเทรดเดอร์และระบบการเงิน โดยเป็นการตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีหลักประกันเพียงพอสำหรับเงินทุนที่ยืมมา
FXGT.com มีความโดดเด่นในอุตสาหกรรมการเงินในฐานะแพลตฟอร์มที่ได้รับใบอนุญาตและมีการกำกับดูแลอย่างเต็มรูปแบบ การดำเนินงานของเราได้รับการดูแลโดย FSA (Financial Services Authority of Seychelles), FSCA (Financial Sector Conduct Authority) และ VFSC (Vanuatu Financial Services Commission) สำหรับลูกค้าสถาบัน
ข้อกำหนดสามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับสภาวะตลาด โดยความผันผวนที่สูงขึ้นมักจะนำไปสู่ข้อกำหนดที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้น เทรดเดอร์จะต้องรับทราบและปฏิบัติตามข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนดเหล่านี้เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกบังคับชำระบัญชีที่ไม่ต้องการ
การซื้อขายด้วยมาร์จิ้นเป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง ซึ่งเมื่อมีการใช้อย่างชาญฉลาดจะสามารถเพิ่มโพซิชั่นของเทรดเดอร์ได้ อย่างไรก็ตาม เทรดเดอร์จำเป็นต้องมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับกลไกของมาร์จิ้น ซึ่งรวมถึงวิธีการทำงานของ margin calls ความแตกต่างระหว่างมาร์จิ้นสูงและต่ำ วิธีคำนวณมาร์จิ้น และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง
ที่ FXGT.com เราเข้าใจดีว่ากลยุทธ์ของเทรดเดอร์ทุกคนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งเป็นเหตุผลว่า ทำไมเราจึงมีตัวเลือกเลเวอเรจแบบต่าง ๆ ซึ่งได้ถูกปรับให้เหมาะกับประเภทบัญชีเทรดที่คุณเลือก เลเวอเรจสามารถเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่ช่วยให้คุณมีศักยภาพที่จะประสบความสำเร็จได้มากยิ่งขึ้นจากการลงทุนของคุณ หากคุณใช้มันอย่างชาญฉลาด
เราขอเชิญชวนให้คุณสำรวจโอกาสในการเทรดกับ FXGT.com และดูว่าตัวเลือกเลเวอเรจของเราสามารถตอบสนองต่อความต้องการด้านการเทรดของคุณได้อย่างไร หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวเลือกเลเวอเรจที่เรามีให้บริการ โปรดไปที่ส่วน เลเวอเรจและมาร์จิ้น บนเว็บไซต์ของเราและดู คำถามที่พบบ่อย
ลงทะเบียน กับ FXGT.com และเริ่มต้นเพิ่มศักยภาพในการเทรดของคุณให้สูงสุดวันนี้!