19 ธันวาคม 2024 | FXGT.com
ความปั่นป่วนของตลาดข้างหน้า: เหตุการณ์สำคัญและสัญญาณขาลงของ S&P
สารบัญ
ภาพรวมทางการเงินทั่วโลกมีแนวโน้มว่าจะเกิดความผันผวนเนื่องจากจะมีการเปิดเผยเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ในวันพฤหัสบดี การตัดสินใจของธนาคารกลางจากญี่ปุ่น (อัตราดอกเบี้ยนโยบาย BOJ), สหราชอาณาจักร (อัตราดอกเบี้ยธนาคารอย่างเป็นทางการ) และสหรัฐอเมริกา (การขอสวัสดิการว่างงาน) จะกำหนดแนวโน้มสำหรับความเชื่อมั่นของตลาด วันศุกร์เสนอข้อมูลการเคลื่อนไหวของตลาดเพิ่มเติม ซึ่งรวมถึงยอดขายปลีกในสหราชอาณาจักรและแคนาดา และดัชนีราคา PCE หลักของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่สำคัญ
การดิ่งลงเมื่อไม่นานมานี้ของ S&P 500 หลังจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาได้ตอกย้ำถึงความไม่แน่นอนของตลาด ดัชนีร่วงลงมากกว่า 3% หลังจากที่ Fed ส่งสัญญาณหยุดพักการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม ซึ่งก่อให้เกิดการพลิกกลับกราฟทางเทคนิคและโมเมนตัมขาลง ในขณะที่นักลงทุนพิจารณาตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจและรูปแบบกราฟ ความสนใจขะมุ่งเน้นไปที่การนำทางระดับแนวต้านและแนวรับท่ามกลางแรงกดดันจากตลาดที่เพิ่มสูงขึ้น
เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบสูง
วันพฤหัสบดี ยังไม่ทราบเวลา (GMT+2) –ญี่ปุ่น: อัตราดอกเบี้ยนโยบาย BOJ (JPY)
วันพฤหัสบดี เวลา 14:00 น. (GMT+2) – สหราชอาณาจักร: อัตราดอกเบี้ยธนาคารอย่างเป็นทางการ (GBP)
วันพฤหัสบดี เวลา 15:30 น. (GMT+2) – สหรัฐอเมริกา: การขอสวัสดิการว่างงาน (USD)
วันศุกร์ เวลา 09:00 น. (GMT+2) – สหราชอาณาจักร: ยอดขายปลีกเทียบรายเดือน (GBP)
วันศุกร์ เวลา 15:30 น. (GMT+2) – แคนาดา: ยอดขายปลีกเทียบรายเดือน (CAD)
วันศุกร์ เวลา 15:30 น. (GMT+2) – สหรัฐอเมริกา: ดัชนีราคา PCE หลักเทียบรายเดือน (USD)
บทวิเคราะห์กราฟ
นับตั้งแต่ที่ไปแตะที่ระดับสูงสุดตลอดกาลที่ 6101.24 ในวันที่ 6 ธันวาคม ดัชนี S&P 500 ทรงตัวไปด้านข้างจนกระทั่งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed เมื่อสิ้นสุดเซสชันเมื่อวานนี้ S&P 500 ร่วงลงมามากกว่า 3% ซึ่งก่อให้เกิดการเทขายในตลาดหุ้น การเคลื่อนไหวของราคานี้ก่อให้เกิดรูปแบบการพลิกกลับกราฟที่รู้จักการในบทวิเคราะห์ทางเทคนิคว่าเป็นการสวิงตัวล้มเหลว ระดับสูงสุดที่ 6097.90 ไม่สามารถทะลุผ่านระดับสูงสุดก่อนหน้านี้ได้ ส่งผลให้ปรับตัวลงต่ำกว่าระดับแนวรับหลักที่ 6032.09 ซึ่งเปิดประตูสู่การปรับตัวลงเป็นอย่างมาก
ในขณะที่ราคาร่วงลงต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอ็กซ์โปเนนเชียล (EMA) ช่วง 50 สิ่งนี้จึงเป็นเครื่องยืนยันแนวโน้มขาลง อย่างไรก็ตาม EMA ช่วง 20 ยังไม่ตัดกันต่ำกว่า EMA ช่วง 50 ทั้ง Momentum Oscillator และ Relative Strength Index (RSI) บ่งชี้แนวโน้มขาลง Momentum Oscillator ลดลงต่ำกว่าเส้นพื้นฐาน 100 และ RSI อยู่ต่ำกว่าระดับสำคัญที่ 50 ซึ่งบ่งชี้ถึงแรงกดดันขาลงอย่างต่อเนื่อง
ระดับแนวต้านที่สำคัญ
หากผู้ซื้อเข้าควบคุมตลาดได้ นักเทรดอาจเปลี่ยนความสนใจมาที่ระดับแนวต้านที่ระดับที่เป็นไปได้ดังต่อไปนี้:
5926.59: เป้าหมายราคาแรกอยู่ที่ 5926.59 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึง Pivot Point, PP รายเดือนที่คำนวณโดยใช้วิธีการมาตรฐาน
6032.09: เป้าหมายแนวต้านที่สองอยู่ที่ 6032.09 ซึ่งสอดคล้องกับระดับสวิงต่ำสุดจากวันที่ 10 ธันวาคม
6101.24: เป้าหมายราคาที่สามอยู่ที่ 6101.24 ซึ่งสะท้อนถึงระดับสูงสุดตลอดกาลที่ไปแตะถึงในวันที่ 6 ธันวาคม
6154.72: เป้าหมายราคาเพิ่มเติมอยู่ที่ 6154.72 ซึ่งแสดงถึงระดับแนวต้านรายสัปดาห์, R3 ที่คำนวณโดยใช้วิธีการ Pivot Points มาตรฐาน
ระดับแนวรับที่สำคัญ
หากผู้ขายยังคงควบคุมตลาดเอาไว้ได้ นักเทรดอาจให้ความสำคัญกับระดับแนวรับที่สำคัญสี่ระดับดังต่อไปนี้:
5833.60: ระดับแนวรับเริ่มต้นอยู่ที่ 5833.60 ซึ่งแสดงถึงระดับต่ำสุดจากวันที่ 19 พฤศจิกายน
5776.55: ระดับแนวรับที่สองอยู่ที่ 5776.55 ซึ่งสะท้อนถึงระดับสูงสุดที่เกิดขึ้นในวันที่ 26 กันยายน
5695.94: เป้าหมายขาลงที่สามอยู่ที่ 5695.94 ซึ่งสอดคล้องกับระดับสวิงต่ำสุดจากวันที่ 4 พฤศจิกายน
5385.01: เป้าหมายขาลงเพิ่มเติมอยู่ที่ 5385.01 ซึ่งสะท้อนถึงระดับต่ำสุดรายวันจากวันที่ 6 พฤศจิกายน
ข้อมูลพื้นฐาน
มีการเทขาย Wall Street ในปริมาณมากหลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ซึ่งเป็นการปรับลดเป็นครั้งที่สามติดต่อกันแล้ว และส่งสัญญาณการหยุดพักการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมในขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่เหนือ 2% S&P 500 ลดลง 3% ซึ่งเป็นวัน Fed Day ที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2020 และหุ้นขนาดเล็กก็ลดลงอย่างมาก โดยที่ Russell 2000 ลดลง 4.4% อัตราผลตอบแทนพันธบัตรเพิ่มขึ้น และความผันผวนพุ่งสูงขึ้น โดย VIX แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม
ผู้เชี่ยวชาญตลาดมองว่าการเทขายเป็นผลมาจากความกลัวว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยน้อยลงในปี 2025 และการขายทำกำไรหลังจากปีที่แข็งแกร่ง นักวิเคราะห์ตั้งข้อสังเกตว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่เพิ่มขึ้นและจุดยืนของ Fed ที่ตกต่ำเป็น “ปัจจัยลบ” สำหรับสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง ส่งผลให้นักลงทุนต้องล็อกกำไรไว้และประเมินมูลค่าใหม่
บทสรุป
โดยสรุปแล้ว ในอีกไม่กี่วันข้างหน้าจะมีกิจกรรมทางการตลาดที่สำคัญเกิดขึ้น เนื่องจากเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญและการเปิดเผยข้อมูลจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นทั่วโลก นักลงทุนเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่ท้าทาย พร้อมด้วยความไม่แน่นอนที่เพิ่มสูงขึ้นตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed และจุดยืนที่ระมัดระวังในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอนาคต ตัวชี้วัดทางเทคนิคส่งสัญญาณถึงโมเมนตัมขาลงใน S&P 500 ในขณะที่แนวต้านและแนวรับเสนอโอกาสในการซื้อขายที่เป็นไปได้ท่ามกลางความผันผวนนี้ เมื่อการตัดสินใจของธนาคารกลางและข้อมูลทางเศรษฐกิจที่สำคัญถูกเปิดเผย ผู้เข้าร่วมตลาดจะต้องระมัดระวังและปรับกลยุทธ์เพื่อนำทางภูมิทัศน์ทางการเงินที่เปลี่ยนแปลงไป
ช่วยเราปรับปรุงบทความนี้
ส่งความคิดเห็นเพิ่มเติม
ข้อความสงวนสิทธิ์: เนื้อหาและข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกแสดงไว้ ณ ที่นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในด้านการตลาดแบบทั่วไปเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือการแนะนำเกี่ยวกับการลงทุนและไม่ถือเป็นการเชิญชวนให้ซื้อตราสารทางการเงินใด ๆ และ/หรือเกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางการเงินใด ๆ นักลงทุนเป็นผู้รับผิดชอบความเสี่ยงจากการตัดสินใจลงทุนของตัวเองและนักลงทุนควรหาคำแนะนำจากมืออาชีพที่มีความเป็นอิสระก่อนทำการตัดสินใจใด ๆ การวิเคราะห์และความคิดเห็นตามที่ปรากฏอยู่ ณ ที่นี่ไม่ได้มีการคำนึงถึงวัตถุประสงค์ในการลงทุนส่วนบุคคล สถานภาพทางการเงิน หรือความจำเป็นส่วนบุคคลของคุณ โปรดอ่านข้อความสงวนสิทธิ์ของบทวิจัยการลงทุนที่เป็นอิสระ
ที่นี่.
ข้อมูลความเสี่ยง: CFD เป็นตราสารที่มีความซับซ้อนและมีระดับความเสี่ยงสูงที่จะขาดทุน อ่านข้อมูลความเสี่ยงฉบับเต็ม
ที่นี่ .